ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การตัดเย็บเสื้อผ้า

โดย : นางฮาซนะ ยุโซะ วันที่ : 2017-07-24-09:57:16

ที่อยู่ : 18/1 ม.1 ต.ลุโบะบายะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นสั่งสมภูมิปัญญามาตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งการมีประสบการณ์ที่มีอยู่สูงโดยเฉพาะการตัดเย็บเสื้อผ้า มีกระบวนการตั้งแต่ตนเองต้องมีใจรักชอบในอาชีพนี้ ที่สำคัญต้องมีความรู้ คือความรู้เรื่อง จักรเย็บผ้า ตลอดทั้งการซ่อมในกรณีที่จักรชำรุดเป็นเบื้องต้น ประเภทจักรแต่ละชนิดจะใช้กับผ้าประเภทใด รอยด้ายที่ลงบนเนื้อผ้า ความหนา ความถี่ของรอยตะเข็บ การเลือกโทนสีผ้าสีต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณี ผ้าแบบไหนสีไม่ตก กระบวนการตัดเย็บเสื้อผ้าต้องมีการแนะนำลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นอันดับแรก เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้าใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพื่อเสริมบุคลิกของตนเองให้ดูมีสง่าราศี โดดเด่นแก่ผู้พบเห็น จึงทำการวัดตัวลูกค้าโดยเน้นเสื้อผ้าที่ ใส่แล้วสบาย ดูดี

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

                   1. กระดาษสร้างแบบ

                   2. กระดาษพิมพ์การ์ดลักษณะเหมือนกระดาษกล่องทั่วไป

                   3. กระดาษคาร์บอน ใช้กลิ้งให้เกิดเส้นบนผ้า

                   4. กรรไกรตัดผ้าควรใช้กรรไกรอย่างดีขนาด 7-8 นิ้ว

                   5. กรรไกรตัดกระดาษ   

                   6. เข็มสอย มีหลายเบอร์ ผ้าเนื้อหนาใช้เบอร์ 8 ผ้าเนื้อบางใช้เบอร์ 11 ปักลูกปัดใช้เบอร์12

                   7. เข็มหมุด นิยมใช้เข็มเล่มเล็กยาว หัวโต ซื้อเป็นกล่องจะประหยัดมาก

                   8. หมอนปักเข็มหมุด มีเพื่อความสะดวกในการหยิบเข็มหมุดไปใช้งาน

                    9. ขอบเอวเป็นผ้าเทปเนื้อแข็ง

                   10. ชอร์คเขียนผ้า เป็นแป้งรูปสามเหลี่ยม ขอบบาง มีหลายสีควรเลือกใช้สีใกล้เคียงกับสีผ้า

                   11. ด้ายเนา เป็นด้ายเนื้อเปื่อยใช้เนาตะเข็บลองตัว เมื่อเย็บจักรทับจะดึงออกได้ง่าย

                    12. ดินสอดำ ใช้ดินสอดำเนื้ออ่อน ขนาด HB ดีที่สุด

                    13. ยางลบ ใช้สำหรับลบบริเวณที่มีรอยดินสอที่ไม่ต้องการ

                   14. ดินสอแดง-น้ำเงิน เป็นดินสอ 2 สีในแท่งเดียวกัน ใช้เขียนทับเส้นที่ต้องการใช้งาน

                   15. ลูกกลิ้ง ใช้กลิ้งรอยบนผ้าและบนกระดาษ

                   16. สายวัดใช้อย่างดีมีตัวเลขทั้งนิ้วและเซนติเมตร

                    17. สก๊อตเทป ใช้ติดกระดาษเมื่อแยกแบบ จะสะดวกดีกว่าใช้แป้งเปียก

                   18. ที่เลาะผ้า เป็นเหล็ก 2 ขา ใช้เลาะผ้าได้สะดวกและรวดเร็ว

                   19. บรรทัดใช้ขนาดยาว 60 เซนติเมตรเนื้อบรรทัดใช้เป็นไม้หรือพลาสติกก็ได้

                    20. ไม้โค้ง มีทั้งพลาสติกและโลหะใช้ในการวางเส้นโค้งให้รวดเร็วและถูกต้อง

                   21. ไม้ฉากรูปสามเหลี่ยม เนื้อพลาสติกจะทำงานได้รวดเร็วกว่าเนื้อไม้

                   22. สมุดจด ใช้สำหรับจดหรือบันทึกข้อมูลขนาดเสื้อผ้า      

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะว่าจะส่งผลถึงลักษณะของผลสำเร็จ เช่น ผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม หรือผลงานตึงรั้งสวมใส่ไม่ได้

                    2. ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด เช่น สร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น

                    3. ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย

                    4. ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้น

                สำหรับผ้าที่ต้องการตัดเย็บ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะหดหรือไม่ ควรนำผ้าไปแช่น้ำ ถ้าเป็นผ้าขาวให้แช่ด้วยน้ำเปล่า ถ้าเป็นผ้าสีให้แช่ในน้ำเกลือ โดยแช่ประมาณ 3 ชั่วโมง และนำไปผึ่งให้แห้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตัดเย็บให้ครบถ้วน

                    5. ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

                    6. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น

                    7. ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา