ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกพืชแบบผสมผสาน

โดย : นายกามารูเด็น อิบราฮิม วันที่ : 2017-03-15-09:22:11

ที่อยู่ : 173/1 หมู่ที่ 7 ต.ปาเสมัส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกษตรกรมีพื้นที่ทำกินทั้งหมดประมาณ 15ไร่ แบ่งเป็น

พื้นที่สวนยางพาราแบบผสมผสาน 15 ไร่  ปลูกพืชแซมร่วมยางพาราใน แปลงที่ 1 สวนยางพารา จำนวน 10 ไร่ ปลูกพืชแซม พืชผัก พืชล้มลุก เช่น อ้อย  พริก ตะไคร้ มะเขือ ขมิ้น ข่า ถั่วต่าง ๆ  แตงกวา

ส่วนแปลง ที่ 2 ผลไม้หมุนเวียนตามฤดูกาล จำนวน 5 ไร่ ปลูก สละอินโด ลองกอง  ทุเรียน มังคุด สัประรด มันสำปะหลัง กล้วย

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปลูกแบบผสมผสาน 10 ไร่ ปลูกยางพาราระยะ 3 x 7เมตร ไร่ละ 72  ต้น พืชผักสวนครัว ปลูกพริก ตะไคร้ มะเขือ ถั่ว แตงกวา อย่างละ 30 -100 ต้น

ส่วนแปลงผลไม้ ที่ปลูก 5 ไร่ ปลูกสละอินโด  ลองกอง ทุเรียน  มังคุด ไร่ละ 10 ต้น  สัประรด  มันสำปะหลัง กล้วย

ข้อพึงระวัง ->

การทำสวนยางพาราแบบผสมผสานจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการพังทลายของหน้าดินและดินถล่มได้ ทั้งนี้ได้มีการเสนอให้ทางจังหวัดนราธิวาส สนับสนุนการปลูกพืชร่วมยางพาราเพื่อป้องกันดินถล่มแล้ว

สำหรับพืชที่จะปลูกเป็นพืชร่วมยางพาราที่มีความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ลาดชันได้แก่ ไผ่ เนื่องจากใบไผ่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์กว่าพืชอื่น ๆ ด้วยธาตุอาหารที่มีในใบไผ่ อัตราการร่วงและปริมาณของใบที่ร่วงลงดินจำนวนมาก อีกทั้งไผ่เป็นพืชที่ให้ออกซิเจนจำนวนมาก และมีรากฝอยจำนวนมากซึ่งจะช่วยลดการกัดเซาะหน้าดินได้ดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา