ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเลี้ยงไก่บ้าน

โดย : นายสุรินทร์ เจ๊ะนุ วันที่ : 2017-03-15-09:15:02

ที่อยู่ : 24/91 หมู่ 4 ตำบลปาเสมัส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสุรินทร์  เจ๊ะนุ เป็นเกษตรกรที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ชีวิตประจำวันเป็นเกษตรกรที่นำระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม  มีการใช้แรงงาน  เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในสวนแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรม   เช่น การเลี้ยงไก่บ้านบนบ่อปลา ในสวนอ้อย สวนมะพร้าว เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนทดลองศึกษาการเลี้ยงไก่บ้าน โดยนำหลักการเช่นเดียวกับการเกษตรแบบผสมผสาน

1.การเลือกพ่อพันธ์ แม่พันธ์  อัตราพ่อพันธ์ : แม่พันธ์ที่เหมาะสม คือ  1:10

2.การทำโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเท ดี มีที่ให้น้ำ  อาหาร

ใช้เศษอาหารจากครัวเรือน ปลวกในร่องสวน

3.การให้วัคซีน ป้องกันโรค

4.การฟักไข่

5.การแยกสถานที่ขุนลูกอ่อน จากพ่อพันธุ์

6.การคัดสายพันธุ์ไว้ทำพ่อพันธ์ แม่พันธุ์ และคัดแยกจำหน่าย

ส่วนการเลี้ยงปลาในบ่อ สร้างเล้าไก่บนปากบ่อ มีที่ให้ไก่ได้ไปออกกำลังกายกระพือปีกริมน้ำ เล่นน้ำ  ถ่ายมูล ใช้จุลินทรีย์พด.2 น้ำหมักชีวภาพรดมูลไก่เพื่อช่วยย่อยและเป็นอาหารให้ไก่

ข้อพึงระวัง ->

ก่อนอื่นต้องดูสภาพพื้นที่ว่างจากการทำเกษตรก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร การปลูกพืชอะไรได้บ้าง ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหารหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร ควรทำกาเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง  และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช ใช้น้าหมักชีวภาพลดผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา