ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกไผ่กิมซุงและการแปลรูปไผ่กิมซุง

โดย : นายอมร พรหมจันทร์ วันที่ : 2017-03-14-09:31:05

ที่อยู่ : ๒๑/๒ หมู่ที่ ๔ บ้านไอตีมุง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไผ่กิมซุง หรือ ไผ่ไต้หวัน ของ นายอมร พรหมจันทร์ เกษตรกรในพื้นที่หมู่ ๔ บ้านไอตีมุง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้เสริมด้วยการปลูกพืชแซมในพื้นที่เป้าหมายแรก เพียงมุ่งหวังให้เป็นรายได้เสริมในครอบครัว จึงเกิดความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไผ่ ก็เลยศึกษาหาความรู้จากแหล่งอินเทอร์เน็ตและหนังสือ ทำให้ได้พืชแซมที่สนใจ คือ ไผ่กิมซุง จึงได้เดินทางไปดูงานจากสถานที่จริงที่มีการปลูกไผ่กิมซุง  จึงนำมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตน จนประสบณ์ความสำเร็จ ทำให้มีรายได้จากพืชเสริมที่ว่านี้ แม้ว่าจะมียางพาราที่ให้ผลผลิตออกมาได้ต่อเนื่องแต่ ไผ่กิมซุง ของนายอมรก็ยังคงแทรกอยู่ในพื้นที่และดูเหมือนว่าทิศทางในอนาคตจะบูรณาการให้ทั้งยางพาราและไผ่เดินคู่กันไปในระยะยาวด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เป็ฯการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ขายหน่อสด โดยการตัดหน่อไม้ วันเว้นวันเพื่อให้มีผลิตที่สดและใหม่

๒. ขายโดยการต้ม ปอกเปลือกแล้วทำการแต่งให้ดูดีแล้วผ่าซีก (กรณีหน่อใหญ่) แล้วนำไปต้มเป็นเวลา ๔๕ นาที โดยไม่ต้องเทน้ำทิ้ง จากนั้นใส่น้ำสะอาดให้เต็มและแช่ไว้ประมาณ ๒ ชั่วโมง หน่อไม้จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อน

๓. ขายโดยการดอง นำหน่อไผ่สดมาทำการปลอกเปลือก แล้วทำการล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาหั่นบางๆ ใส่น้ำซาวข้าวและใส่เกลือในอัตราส่วน หน่อไม้สด ๑๐ กิโลกรัมต่อเกลือครึ่งกิโลกรัม

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา