ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานกระจูด

โดย : นางอารีรัตน์ อินราช วันที่ : 2017-08-09-13:56:38

ที่อยู่ : เลขที่ 44 หมู่ที่ 2 บ้านกำแพง ตำบลกะลุวอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระจูดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ขนาดตั้งแต่เท่าก้านไม้ขีดไฟไปจนถึงเท่าแท่งดินสอดำ สูงประมาณ 1-2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุก กระจูดชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขังซึ่งเรียกกันว่าโพระหรือพรุ เครื่องสานทุกชนิดที่ผลิตขึ้นจากต้นกระจูด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้มาเป็นเวลาช้านาน มีความทนทานใช้สะดวก วัสดุหาง่าย ผลิตได้ทั้งในรูปภาชนะบรรจุสิ่งของและเครื่องปูลาดที่ชาวบ้านในภาคใต้ทั่วไปเรียกกันว่า "สานจูด"        ซึ่งชาวชนบทยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจึงถือได้ว่า เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของปักษ์ใต้ประเภทหนึ่ง   

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กระจูดมีอยู่ในพื้นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในการถอนต้นกระจูดนิยมถอน ครั้งละ 2-5 เพื่อไม่ให้ต้นกระจูดหัก และนำไปคลุกโคลน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับเสนใย แล้วนำไปตากแดดเพื่อให้กระจูดแข็งตัว ไม่ให้แห้งกรอบ และการรีกระจูดใช้ลูกกลิ้งรีดจะทำให้กระจูดนิ่ม สามารถจักสานได้สะดวก

อุปกรณ์ ->

1. กระจูด

2. สี

3. ถังต้มสี

4. กระดาษบาง-หนา

5. กาวลาเท็กซ์

6. กาวเหลือง

7. น้ำยาเคลือบเงา

8. ด้าย

9. ผ้า

10. ซิป

11. ห่วง

12. สายหนัง

13. กะดุม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การอบต้นกระจูด เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ คือ ต้นกระจูดขนาดต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านจะเตรียมที่ทุ่งกระจูด การกอบนิยมกอบที่ละ 2.3 ต้น รับหนึ่งจะกอบประมาณ 10-15 กำฝ่า มัดกระจูด ที่มัดมาจากแหล่งกระจูด เรียก 1 กำฝ่า ใหญ่ขนาดเท่าต้นตาลโตนด 1 กำฝ่า นำมาแยกเป็นกำฝืนได้ประมาณ 4-5 กำฝืน( 1 กำฝืน สานเพื่อผู้นั่งใส่ 1 ผืน)

2. การคลุกโคนต้นกระจูด เพื่อเมความเหนียวให้ทับเส้นใย ชาวบ้านจะใช้น้ำโคลนขาว คลุกกระจูดให้เปียกทั่วก่อนนำไปตากแดด ช่วยให้กระจูดเข็งตัว ไม่แห้งกรอบ เพียงปิดจบใช้งานไม่ได้

– นำน้ำมาผสมกับดินเหนียวขาวจะได้นำโคลนสีขาว

– การผสมน้ำกับโคลน ต้องไม่เหลวหรือข้นจนเกินไป ทดสอบโดยจุ่มมือลงไปให้น้ำโคลนเกาะนิ้วมือ

3. การนำไปผึ่งแดด

– นำไปตากแดด แบบกระจายเรียงเส้น เพื่อกระจุดจะได้แห้งเร็วและทั่วลำต้น

– ถ้าแดดจัดตากประมาณ 2-3 วัน ให้สังเกตที่ทับกระจูดตรงโคนต้น ถ้าทับแยกออกแสดงว่าต้นกระจูดนั้นแห้งแล้วให้ทำการถอดทับกระจูดออก

4. คัดเลือกต้นกระจูด แยกขนาดเล็กใหญ่มัดไว้เป็นกำ

5. นำกระจูดไปรีดให้แบบ ซึ่งการรีดมี 2 วิธี

– ใช้เครื่องจักรรีด

– ใช้ลูกกลิ้งรีด ลูกกลิ้งทำจากวัสดุทรงกลม ที่มีน้ำหนักพอเหมาะ เช่น ท่อซิเมนต์ ท่อเหล็กกลม

วิธีการรีด นำกระจูดมัดเป็นกำพอประมาณ วางบนพื้นราบใช้ลูกกลิ้งทับไปทับมาจนแบบเรียบตามต้องการ

ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องรัดกับลูกกลิ้ง

การใช้ลูกกลิ้งรีดต้นกระจูดจะนิ่มเหมือนตำด้วยสาก จักสานง่าย ส่วนการใช้เครื่องรีด ต้นจะแบบเรียบเหมือนกันแต่ไม่นิ่ม ทำให้จักสานยาก

6. การย่อมสี (สีเคมี)

– แบ่งกระจูดออกเป็นมัด มัดละ 20-25 เส้น แล้วนำสายยางมัดที่ปลายกระจูดเพื่อไม่ให้เส้นกระจายออกเวลานำไปย้อมสี

– นำกระจูดไปจุ่มน้ำให้ชุ่ม

– นำไปย้อมสีตามที่ต้องการ ในถังต้มสี ซึ่งนี้เดือดได้ที่แล้วประมาณ 15-20 นาที

– นำกระจูดขึ้นจากถังสี แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด เพื่อล้างสีส่วนเกินออก

– นำกระจูดไปตากที่ราว ผึ่งลมให้แห้ง

– นำเส้นกระจูดที่แห้งแล้วมัดรวมกันเพื่อนำไปรีดใหม่อีกครั้งให้เส้นใยนิ่มและเรียบ

7. การจักสาน

ใช้สถานที่ภายในบ้าน ชานบ้านหรือลานบ้านที่มีพื้นที่เรียบ การสานนำต้นกระจูดที่เตรียมไว้มาจักสานเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สาน และตามความต้องการของลูกค้า โดยปกติสายพื้นฐาน คือ สายสอง ถ้าสานเสื่อจะเริ่มต้นจากริม คือ ตั้งต้นสายจากปลายด้านใดด้านหนึ่งไปจนสุดปลายอีก้านหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นภาชนะ เช่น กระบุง จะเริ่มต้นจากกึ่งกลางงาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียรูปได้ เพราะขนาดต้นกระจูดส่วน

โคนจะใหญ่กว่าส่วนปลาย การสานเสื่อจะมีลายต่าง ๆ เช่น ลายสาม ลายสี่ ลายดอกจันทร์ ลายดอกพิกุล ลาย ลูกแก้ว ลายดอกไม้ ลายที่นิยมมากที่สุดคือ ลายสอง ผลิตภัณฑ์ที่สามารถจักสานได้หลากหลาย เช่น เสื่อ หมอน กระเป๋า กระบุง ที่รองแก้ว ที่รองจาน ผู้ที่จักสานในกลุ่มส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ปีขึ้นไป

8. การตกแต่งส่วนประกอบอื่น ๆ

งานสานเสื่อกระจูดเป็นงานเกือบจะพูดได้ว่า ทำเสร็จเรียบร้อยในคราวเดียว มีการตกแต่งต่อเติมเพียงเล็กน้อย คือ การเก็บริมหรือพับริม และการ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้เป็นเสื่อผู้นั่ง แต่หากต้องการนำเสื่อที่สานเสร็จแล้ว(แต่ไม่ต้องเก็บริม) ไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่,หรือกระเป๋าที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้ว(แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ เรียกว่า กระเป๋าตัวดิบ) ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ คงทน และเพื่อความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ กระจูด กระดาษบาง-หนา กาวลาเท็กซ์ กาวเหลือง น้ำยาเคลือบเงา ด้าย ผ้า ซิป ห่วง สายหนัง กระดุมยึด โครงพลาสติก แผ่น เป็นต้น

9. การดูแลรักษา

ควรเก็บผลิตภัณฑ์กระจูดในที่แห้ง ไม่ควรเก็บในที่ชื้นและเปียกชื้น เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา และใช้งานไม่ได้นาน แต่หากหลีกเลียงไม่ได้ ควรนำออกตากแดดให้แห้งสนิท ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา