ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานกระจูด

โดย : นายเจะรอนิง กูดุส วันที่ : 2017-07-24-09:56:17

ที่อยู่ : 74/1 หมู่ที่ 2 บ้านค่าย ตำบลกะลุวอเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระจูดเป็นพืชพวกกก มีเหง้าไต้ดิน ซึ่งเป็นกกกอใหญ่ทั่วไปในพื้นป่าพรุ ลำต้นทรงกลมเรียวยาว    50-120 เซนติเมตร หนา 2-7 มิลิเมตร ภายในกลวง มีแผ่นยางกั้นเป็นระยะ โคนลำต้นหุ้มด้วยกาบ ตรงดอกใกล้ปลายยอดหรือยอด รูปรีสี่น้ำตาล ภาษาถิ่นภาคใต้เรียกกระจูดว่า “จูด”เนื่องจากในท้องถิ่นมีทุ่งกระจูดตามธรรมชาติ เกษตรกรซึ่งมีเวลาว่างจากการทำสวนยางพารา จึงได้นำต้นกระจูดมาจักรสานเป็นสื่อสำหรับรองนั่ง/นอน เสือตากข้าวเปลือก จักสานของใช้ในครัวเรือน เป็นภูมิปัญญาเริ่มแรกของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษในการนำกระจูดมาใช้ให้เกิดประโยชน์

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. กระจูด

2. สี

3. ถังต้มสี

4. กระดาษบาง-หนา

5. กาวลาเท็กซ์

6. กาวเหลือง

7. น้ำยาเคลือบเงา

8. ด้าย

9. ผ้า

10. ซิป

11. ห่วง

12. สายหนัง

13. กะดุม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การอบต้นกระจูด เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ

2. การคลุกโคนต้นกระจูด เพื่อเมความเหนียวให้ทับเส้นใย

-2-

3. การนำไปผึ่งแดด นำไปตากแดดแบบกระจายเรียงเส้นเพื่อกระจุดจะได้แห้งเร็วและทั่วลำต้น

4. คัดเลือกต้นกระจูด แยกขนาดเล็กใหญ่มัดไว้เป็นกำ

5. นำกระจูดไปรีดให้แบบ ซึ่งการรีดมี 2 วิธี

  – ใช้เครื่องจักรรีด

  – ใช้ลูกกลิ้งรีด ลูกกลิ้งทำจากวัสดุทรงกลม ที่มีน้ำหนักพอเหมาะ เช่น ท่อซิเมนต์ ท่อเหล็กกลม

6. การย่อมสี (สีเคมี)

7. การจักสาน

8. การตกแต่งส่วนประกอบอื่นๆ

9. การดูแลรักษา ควรเก็บผลิตภัณฑ์กระจูดในที่แห้ง ไม่ควรเก็บในที่ชื้นและเปียกชื้น เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา และใช้งานไม่ได้นาน

ข้อพึงระวัง ->

กระจูดมีอยู่ในพื้นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในการถอนต้นกระจูดนิยมถอน ครั้งละ 2-5 เพื่อไม่ให้ต้นกระจูดหัก และนำไปคลุกโคลน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับเสนใย แล้วนำไปตากแดดเพื่อให้กระจูดแข็งตัว ไม่ให้แห้งกรอบ และการรีกระจูดใช้ลูกกลิ้งรีดจะทำให้กระจูดนิ่ม สามารถจักสานได้สะดวก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา