ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรพอเพียง

โดย : นายอาเล็ง สือแม วันที่ : 2017-08-10-15:23:57

ที่อยู่ : 90/2 หมู่ที่ 1 ตำบลโฆษิต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกภาค มีพื้นจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็น สังคมที่ผสมผสานคติความเชื่อพื้นเมือง เช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อ ทางศาสนา การเป็นสังคมเกษตรของไทยในอดีต คือการเกษตรแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลัก ใน อดีตเป็นการทำนาที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวและแรงงานสัตว์เป็นหลัก พึ่งพาน้ำฝนและน้ำในแม่น้ำลำ คลองในการเพาะปลูก และใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการดำรงชีวิตที่ต้องพึงพาธรรมชาติ และพึ่งพาตน เอง ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นสุข

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จากความรู้ ความสามารถในการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านมาใช้ในการทำการทำนา การทำนามีหลักสำคัญ คือ 1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
          - การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
          - การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่
และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
          - การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ ลดการใช้สารเคมีที่ไม่จำเป็น เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา