ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นายอดุลชัย มีนา วันที่ : 2017-08-10-15:25:25

ที่อยู่ : 153/3 หมู่ที่ 4 ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายอดุลชัย มีนา ภูมิลำเนาเป็นคนจะแนะ จังหวัดนราธิวาสแต่กำเนิด เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นหลัก และดำรงตำแหน่งผู้นำ อช. โดยส่วนตัวสนใจในการทำการเกษตร จึงเข้าร่วมเป็นอาสาเกษตรได้มีการเรียนรู้และเข้าร่วมการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง  ศึกษาและฝึกอบรมด้านวิชาการ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาด้านการจัดการ ด้านผลผลิต ด้านการตลาด ด้านคุณภาพ ด้านศัตรูพืช และวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวแทนของชุมชนประสานงานในหน่วยงานเกษตรและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนโดยเป็นแกนนำสำคัญในการผลักดันและพัฒนาด้านการเกษตรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   

-          ได้ริเริ่มบุกเบิกพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง

-          มีการวางแผนการผลิตพืชต่อเนื่องตลอดปี 

-          สามารถเผยแพร่ ขยายผลให้แก่ส่วนรวมไปปฏิบัติได้

-          นำความรู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาถ่ายทอดให้กับเพื่อนเกษตรกร     

       อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่เป็นนายของตัวเองเป็นอาชีพที่ทำรายได้พอควร   แต่เป็นอาชีพที่ต้องเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเกษตรให้ดีขึ้นแล้วขยายและถ่ายทอดความรู้กันและกัน ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน หรือการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมในพื้นที่เดียวกันให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และจะนำไปสู่การเป็นระบบการเกษตรแบบยั่งยืน และก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่างๆ หลายอย่าง

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          1.พื้นที่ทำบ่อปลา

          2.พันธุ์ปลาดุก

          3.พันธุ์ผักบุ้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ให้ใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาดุก 60 ถึง 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยให้ทั่วบริเวณบ่อ ใส่ปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วปล่อยน้ำเข้า ประมาณ 50 Cm. ปล่อยทิ้งไว้ 5 วัน หรือสังเกตุจากสีของน้ำถ้าเป็นสีเขียวก็ใช้ได้ ตรวจวัดความเป็นกรดด่างให้อยู่ 7.5 – 8.5 ถ้ายังไม่ถึงให้เติมปูนขาวเพิ่ม

ข้อพึงระวัง ->

ควรเลือกลูกปลาที่มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นอันดับแรก ส่วนการดูลูกปลานั้นให้เลือกที่มีความแข็งแรง วายน้ำได้เร็ว ลำตัว หนวด ครีบ หาง สมบูรณ์ ไม่ว่ายน้ำหงายท้องหรือ ตั้งฉากกับน้ำ

ก่อนการปล่อยลูกปลาลงสู่บ่อควรเอาถุงปลาแช่น้ำในบ่ 10-15 นาทีเพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน ป้องกันการช็อกน้ำของลูกปลา ขนาดลูกลูกปลาที่จะปล่อยควรมีขนาดเท่ากับนิ้วมือ จะเพิ่มอัตราการรอดให้มากยิ่งขึ้น ปริมาณที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาอยู่ที่ 80,000-100,000 ตัวต่อไร่

          เมื่อนำปลาลงบ่อแล้วเราสามารถขยายพันธุ์ผักบุ้งในบ่อปลาได้ ผักบุ้งสามารถเป็นที่ร่มเงาให้ปลาได้เป็นการเกื้อกูลกันและสามารถหมุนเวียนเพื่อนำมารับประธานเป็นอาหารประจำวันได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา