ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ช่างเชื่อม

โดย : นายอับดุลรอโอ๊ะ ดอแม วันที่ : 2017-08-10-15:28:18

ที่อยู่ : 104/2 หมู่ที่ 4 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายอับดุลรอโอ๊ะ  ดอแม ภูมิลำเนาเป็นคนตำบลดุซงญอ จังหวัดนราธิวาสแต่กำเนิด จบการศึกษาอนุปริญญาได้มาประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แรกเริ่มช่วยเหลือบิดาและมารดาทำการเกษตร ต่อมางานประกอบอาชีพเริ่มมีปัญหาด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ จึงคิดที่จะหารายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก โดยส่วนตัวสนใจงานเชื่อมโลหะจึงเริ่มศึกษาเรียนรู้การเชื่อมโลหะเพื่อนำมาประกอบอาชีพ

การเชื่อมหรือการต่อเหล็ก (หรือโลหะ) เข้าด้วยกันในงานโครงสร้างนั้น เราสามารถดำเนินการได้โดยการยึดด้วยสลักเกลียว และการเชื่อม สำหรับประเทศไทยนั้นนิยมใช้การเชื่อมเป็นหลัก ด้วยเหตุที่การเชื่อมในบ้านเราไม่มีข้อจำกัดด้านการตรวจสอบควบคุมคุณภาพมากนัก ทำให้งานเชื่อมมีราคาไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับงานต่อยึดด้วยสลักเกลียว ซึ่งต้องอาศัยทักษะและความชำนาญ โดยหลักการทั่วไปแล้ว การเชื่อม คือ การประสานเหล็กหรือโลหะเข้าด้วยกัน ด้วยการ “หลอม” ให้เหล็ก (หรือโลหะ) ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปที่จะนำมาเชื่อมติดกันนี้ เกิดการหลอมละลายด้วยความร้อนเพื่อให้เหล็ก (หรือโลหะ) ส่วนที่ละลายนี้มาผสมรวมกัน และแข็งตัวเมื่อเย็นตัวลงสู่อุณหภูมิห้อง

         - ปี 2550 เริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเชื่อมโลหะ                                                                                   

         - ปี 2557 เรียนรู้หลักสูตรการเชื่อมที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดนราธิวาส โดยเรียนทั้งหมด     4 รุ่น รุ่นล่ะ 6 เดือน                                                

          - ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม 10 คน โดย นายอับดุลรอโอ๊ะ ดอแม เป็นประธานกลุ่ม เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มวันละ 1, 000 บาท และเป็นอาชีพที่สร้างความสนใจให้กับเยาวชนทั้งในชุมชนและนอกชุมชนเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          1. ถุงมือเชื่อมและเอี๊ยมกันไฟ

          2. แปรง ค้อน และคีมงานเชื่อม

          3. คีมจับลวดเชื่อมไฟฟ้าพร้อมสายไฟเชื่อมไฟฟ้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเชื่อมด้วยไฟฟ้ามีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

         1.เลือกเครื่องเชื่อมแบบที่และต่อสายดินให้ถูกต้อง

         2.เลือกใช้หน้ากากให้เหมาะสมกับใบหน้า และชนิดของกระจก เพื่อป้องกันรังสี อุลตร้าไวโอเลต

         3.ตรวจดูสายเชื่อมและสายดินให้เรียบร้อย ข้อต่อสายต้องแน่นเพื่อป้องกันไฟรั่ว

         4.นำสายดินคีบชิ้นงาน หรือโต๊ะทำงานให้แน่น และสะอาดปราศจากสนิม

         5.หมุนปรับกระแสไฟบนเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของโลหะ และไม่ควรปรับประแสไฟขณะเครื่องเชื่อมกำลังทำงานอยู่ ควรปิดสวิตซ์ก่อนปรับกระแสไฟ

         6.ใช้ตัวจับลวดเชื่อมคีบลวดเชื่อมให้แน่น ทางด้านปลายที่ไม่มีปลั๊กหุ้ม

         7.ถือลวดเชื่อมให้ตั้งตรง แล้วจ่อไว้ใกล้ ๆ บริเวณที่จะเริ่มต้นเชื่อม อย่าให้แตะชิ้นงาน จนกว่าจะใช้หน้ากากบังให้เรียบร้อย

         8.จี้ลวดเชื่อมลงบนแผ่นงานเบา ๆ แล้วรีบยกมือกระดกขึ้น เพื่อลวดเชื่อมห่างจากแผ่นงาน โดยเร็วและเดินลวดเชื่อมไปข้างหน้าช้า ๆ ฝึกทำจนเชื่อมได้เป็นอย่างดี ถ้าลวดเชื่อมติดชิ้นงานดึงไม่ออก ต้องอ้าหัวจับลวดเชื่อมออกหรือปิดสวิตซ์แล้วตีออก แล้วทำการเชื่อมใหม่เหมือนเดิม

         9.ควรถือลวดเชื่อมให้เอียงออกจากแนวเชื่อมประมาณ 15 - 30 องศา

         10.หลังจากเชื่อมได้แล้วต้องทำความสะอาดรอยเชื่อม โดยใช้ค้อนเคาะสแล็กที่เกาะอยู่ตามแนวเชื่อมแล้วใช้แปรงลวดปัดให้สะอาด

ข้อพึงระวัง ->

1. ชุดปฏิบัติงานจะต้องแห้ง ติดไฟยาก รองเท้าต้องมีที่กำบังเม็ดโลหะ ถุงมือหนัง เสื้อหนัง และกระจกหน้ากากที่มีความเข้มพอเหมาะกับงาน
          2. บริเวณที่ทำการเชื่อมไม่มีวัสดุติดไฟง่าย วัสดุที่จะเกิดการระเบิดได้ เช่น คาร์บอนเทตตราคลอดไรด์
          3. บริเวณที่ทำการเชื่อมจะต้องมีการถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอ
          4. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการเชื่อมจะต้องอยู่ในสภาพดีเสมอ
          5. ถ้าจำเป็นต้องเชื่อมบนพื้นที่เปียกชื้น ต้องสวมรองเท้ายาง หรือยืนบนแผ่นไม้แห้ง
          6. อย่าเชื่อม หรือตัดงานที่วางติดอยู่บนพื้นคอนกรีต

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา