ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายบรรจบ ศิลาชัย วันที่ : 2017-03-20-19:17:09

ที่อยู่ : 29 หมู่ที่ 5 ตำบลโนนยอ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตรมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยการใช้สารเคมีมาตลอด ทำให้ต้องใช้ทุนสูงในการประกอบอาชีพ และส่งผลเสียต่อดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ และต้องใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นทุกปี จึงเปลี่ยนวิธีคิดในการประกอบอาชีพโดยการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพในการปลูกมันสำปะหลัง และทดลองใช้ในพื้นที่ประมาณ 60 ไร่ ทำให้ประสบผลสำเร็จ มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น จากเดิม 3 ตันต่อไร่ ปัจจุบันได้ผลผลิต 5 ตันต่อไร่    

          ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพด้วยตนเอง จากปราชญ์ จากการศึกษาดูงาน การทดลองทำและใช้ด้วยตนเอง ตลอดทั้งชักชวนให้เพื่อนบ้านได้ทดลองทำและใช้ในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้สามารถทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร       2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง  3. มุ้งเขียว

อุปกรณ์ ->

1. ถังสำหรับหมัก   2. มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
          2. บรรจุลงในภาชนะ
          3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
          4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
          5. ครบตามกำหนด หมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
          6. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่น    เหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
          7. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะ  ไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

1. ระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้ เนื่องจากการหมักจะทำให้เกิดก๊าช  เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซมีเทน  เป็นต้น 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา