ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ความรู้ชุมชนสัมมาชีพ (การเลี้ยงแพะ)

โดย : นายปรีชา ปลื้มสง วันที่ : 2017-03-26-16:29:24

ที่อยู่ : 119/2 ม.4 ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แพะเป็นสัตว์ที่กระเพาะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับเลี้ยงในชนบทของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่นประเทศไทย เพราะแพะเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว อายุการเป็นหนุ่มสาว และระยะตั้งท้องสั้น (150 วัน) สามารถให้ลูกครั้งละ 1-4 ตัวและให้ลูกได้ปีละ 2 ครอก ใช้พื้นที่เลี้ยงต่อตัวน้อย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะทนความร้อนจากแสงแดดได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น และที่สำคัญคือแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารพวกพืชหลายชนิด วัสดุเหลือใช้จากเกษตรซึ่งเหลือเฟือในบ้านเรา จึงนำมาเลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยเหตุดังกล่าวแล้ว สถานภาพของบ้านเราจึงเหมาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้น้อยในชนบทเลี้ยงแพเพื่อเพิ่มรายได้ และสามารถรีดนมแพะบริโภค จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารโปรตีนในเด็กระยะกำลังเจริญเติบโต เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์แพะ

2. อาหาร

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก

 2. การเลี้ยงแบบปล่อย การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารใน เวลากลางวันโดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลา หรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ที่นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเราเพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไม่ต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผักหลังการเก็บเกี่ยวหรือปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชเกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหากินอาหารกินไม่ควรปล่อยเวลาที่แดดร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจจะเจ็บป่วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

 3. การเลี้ยงแบบขังคอก การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอกรอบๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้อออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียร์หรือกินนีให้แพะกินบ้างนคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแลแพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน

 4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว 

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา