ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะปลูกพืชผัก

โดย : นายวุฒิ ปูขาว วันที่ : 2017-08-24-13:38:32

ที่อยู่ : หมู่ 5 บ้านนายอดทอง ต วังว้น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ    

                  ผักเป็นอาหารประเภทเส้นใยที่ร่างกายของมนุษย์มีความจำเป็นต้องการมากที่สุดในช่วยในขบวนการย่อย  พืชผักมีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มตั้งหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยที่แน่นอนเป็นที่เป็นทาง มนุษย์ที่เริ่มปลูกพืชปลูกผัก เพี่อเอาไว้กินเป็นอาหารแทนที่จะอาศัยเก็บเอาจากธรรมชาติ เพียงอย่างเดียว จนมาถึงปัจจุบันพืชผักที่มนุษย์เพาะปลูกเอาไว้กินก็มีการพัฒนาพันธุ์ และประเภทมีมากมายหลายประเภท

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์      

                  ๑. เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนเป็นการลดรายจ่ายให้ครอบครัว

                  ๒. เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวโดยการจำหน่ายหลังจากที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนแล้ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์

                  ๑. อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูก เช่น จอบ มีด คราด  ปุ้งกี๋  เครื่องสูบน้ำ  สายยางรดน้ำ

                  ๒. วัสดุที่ใช้ปลูก เช่น ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยรองพื้น  น้ำหมักป้องกันศัตรูพืช 

                  ๓. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่าย

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

                  ๑. อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูก เช่น จอบ มีด คราด  ปุ้งกี๋  เครื่องสูบน้ำ  สายยางรดน้ำ

                  ๒. วัสดุที่ใช้ปลูก เช่น ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยรองพื้น  น้ำหมักป้องกันศัตรูพืช 

                  ๓. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน

    การปลูกผักสวนครัวควรคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆดังนี้
       1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำ

และไม่ไกล จากที่พักอาศัยมากนัก    เพื่อ ความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมา ประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ

       2.การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้

ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผัก มากชนิด ที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควร พิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอก ของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือ ซองที่บรรจุ เมล็ด พันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้น ใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง

                        ฤดูกาลปลูก 

                            การปลูกผักควรเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพดี จึงควรพิจารณาเลือกปลูกผัก ดังนี้
                        ผักที่ควรปลูกในต้นฤดูฝนคือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี้ยบเขียว
                         ผักที่ควรปลูกปลายฤดูฝน ผักที่ปลูกต้นฤดูฝน ปลูกได้ผลดีในปลายฤดูฝน และยังปลูกผัก  ฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก  ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่  ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี  ผักกาดหอมห่อ  ข้าวโพดหวาน แตงเทศ  แตงโม  พริกยักษ์  พริกหยวก  ฟักทอง  มะเขือเทศ  ขึ้นฉ่าย
                         ผักที่ควรปลูกในฤดูร้อน ได้แก่ ผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและ ความแห้งแล้ง ได้ แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า-เย็น ต้องพรวนดินแล้วคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื่นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้นควรทำร่มรำไรให้ด้วย) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดขาวใหญ่ มะเขือมอญ
                        ผักและพืชบางอย่างที่ควรปลูกไว้รับประทานตลอดปีได้แก่ พืชที่ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่างๆ

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                        การป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง  โดยการกำจัดศัตรูพืช  ให้น้ำใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนด  การกำจัดแมลงศัตรูพืชควรใช้วิธีการตรวจแปลงบ่อยๆ ถ้าพบระบาดมากควรใช้พริกไทยป่น  ใบหรือเมล็ดสะเดาบดคั้นเอาน้ำ  แล้วผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่ว

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา