ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงเเพะ

โดย : นายหร่อหมาน โตะมา วันที่ : 2017-08-24-11:45:44

ที่อยู่ : หมุ่ 3 บ้านแหลม ต วังวัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ    

                   เป็นสัตว์ให้เนื้อ และให้นมที่นิยมเลี้ยงชนิดหนึ่ง เนื่องจากนมแพะที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงหรือสูงกว่านมโค กระบือ และมนุษย์ มีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โมเลกุลไขมันมีขนาดเล็ก ทำให้ง่ายต่อการย่อย และการดูดซึมง่ายในระบบทางเดินอาหารสามารถนำใช้บริโภคแทนนมมนุษย์ได้ดีกว่านมโคและนมกระบือ นอกจากนี้ แพะเป็นสัตว์ให้เนื้อเป็นอาหารที่มีโปรตีนที่ย่อยได้ในระดับสูงกว่าเนื้อโค สุกร และไก่ และมีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ  รวมถึงขน และหนังแพะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ ใช้ทำกระเป๋า เสื่อ พรม และเชือก ส่วนมูลแพะใช้ทำเป็นปุ๋ย เขา และกีบนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เลือด และกระดูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์      

                   เพื่อใช้พื้นที่ในสวนยางพาราให้เกิดประโยชน์และมูลแพะสามารถบำรุงต้นยางได้โดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยมาใส่สวนยางเป็นการลดรายจ่ายทางหนึ่ง  เมื่อเลี้ยงแพะได้ขนาดก็สามารถขายเป็นแพะเนื้อได้อีก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์

                    ๑. ไม้และสังกะสีสำหรับทำโรงเรือนให้แพะอาศัยจะต้องยกสูงจากพื้นดิน

                    ๒. เกลือแร่  ที่ให้น้ำ 

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

                    ๑. ไม้และสังกะสีสำหรับทำโรงเรือนให้แพะอาศัยจะต้องยกสูงจากพื้นดิน

                    ๒. เกลือแร่  ที่ให้น้ำ 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน

                           การเลี้ยงแพะในสวนยางพารา

                        คือการเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะออกในตอนเช้าหาอาหารกินในแปลงหญ้าบริเวณสวนยางพารา หลังกรีดยางและเก็บผลผลิตแล้วหรือกินหญ้าในแปลงแล้วก็ต้อนกลับเข้าคอกในตอนเที่ยง หรือว่าจะปล่อยให้ออกหาอาหารกินในตอนบ่ายแล้วต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น การเลี้ยงแพะในสวนยางพาราเพื่อให้แพะได้กินวัชพืชในแปลงในสวนและก็จะได้ประโยชน์คือได้ปุ๋ยจากมูลแพะนั่นเองซึ่งทั้งสองอย่างเมื่อผสมผสานกันแล้วก็ทำให้สร้างรายได้ทั้งสองทางได้อีกด้วย

 

 

 การเลี้ยงแพะให้ดีนั้น มีวิธีและเทคนิคในการสร้างโรงเรือนดังนี้

                 1. พื้นที่ตั้งคอกควรอยู่ในที่เป็นเนินน้ำไม่ท่วมขังหรือสร้างให้สูงกว่าพื้นดินตามความเหมาะ

สมหรือประมาณ 1-2 เมตร

                 2. บันไดทางขึ้นคอกควรทำมุมเป็นมุม 45 องศา

                 3. พื้นคอกควรทำเป็นร่องเว้นระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร เพื่อให้มูลหรือปัสสาวะของแพะ

ร่วงลงมาพื้นด้านล่างได้ จะได้ทำให้พื้นของคอกแพะแห้งและมีความสะอาดตลอดเวลา

                 4 .ผนังคอกคอกสร้างแบบโปร่งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ใช้ความสูงประมาณ 1.5 เมตร

เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดข้ามได้

                 5. สำหรับหลังคาโรงเรือนนั้นสามารถสร้างได้หลายแบบ มีทั้งแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้า

จั่วควรให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือต้นทุนในการสร้างของเราครับ     ควรให้หลังคาโรงเรือนสูงจากคอกประมาณ 2 เมตร จะใช้ใบจากหรือสังกะสีก็ได้ครับ

                  6. สำหรับพื้นที่ในการเลี้ยงแพะแต่ล่ะคอกนั้น แพะแต่ละตัวต้องการพื้นที่ส่วนตัวละ 1-2

ตารางเมตร ซึ่งแล้วแต่ขนาดตัวของแพะ สามารถแบ่งคอกในโรงเรือนได้ตามการใช้งานต่างๆเช่น คอกแม่แพะอุ้มท้อง,คอกสำหรับคลอดลูกแพะ,คอกอนุบาลแพะ

                  7.รั้วคอกแพะควรสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ไม่ควรใช้รั้วลวดหนามเดี๋ยวจะทำให้แพะ

พลาดไปโดนได้ ให้ปักเสาปูนทุกระยะ 3-4 เมตรเพื่อความแข็งแรงของรั้ว หรือปลูกต้นกระถินสลับกับไม้ไผ่ก็ได้เพื่อความประหยัด

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                     จะต้องหมั่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเนื้อการติดเชื้อทำให้แพะตายได้ง่าย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา