ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหอยแมลงภู่

โดย : นายมะเสน เต๊ะเส็น วันที่ : 2017-08-24-11:34:53

ที่อยู่ : หมู่ 3 บ้านแหลม ต วังวัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ    

               หอยแมลงภู่เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว หอยแมลงภู่จะกรองกินพวกแพลงตอนพืช และสัตว์ขนาดเล็กที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแหล่งเลี้ยง รวมทั้งอินทรีย์วัตถุที่แขวนลอยในน้ำ ดังนั้นจึงไม่ต้องให้อาหารหรือปุ๋ยในแหล่งเลี้ยง การเลี้ยงหอยชนิดนี้จึงเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนต่ำ หากเป็นธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานมากนักสามารถใช้แรงงานในครัวเรือนได้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์      

                     ๑.เพื่อสืบทอดอาชีพให้กับรุ่นลูกหลาน

                     ๒.เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์

                     ๑. ไม้หลักสำหรับปักให้หอยเข้าพักอาศัย

                     ๒. พันธุ์หอยขนาดเล็ก

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

                     ๑. ไม้หลักสำหรับปักให้หอยเข้าพักอาศัย

                     ๒. พันธุ์หอยขนาดเล็ก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน

                     การเลือกสถานที่เลี้ยงหอยแมลงภู่
1. ควรเป็นแหล่งที่มีพันธุ์หอยแมลงภู่เกิดชุกชุมตามธรรมชาติ
2. ต้องเป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มและคงสภาพความเค็มอยู่เป็นเวลานานประมาณ 7-9 เดือนในรอบปี
3. ควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากกระแสน้ำและคลื่นลมแรง
4. ควรเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจถ่ายเทน้ำเสียอันเป็นพิษเป็นภัยต่อสัตว์น้ำ
5. แหล่งเลี้ยงหอยควรเป็นแหล่งน้ำตื้นชายฝั่ง ซึ่งมีความลึกประมาณ 3-10 เมตร
6. แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่หากมีทางเลือกควรอยู่ใกล้ตลาด การคมนาคมขนส่งได้สะดวก 
ประเภทของการเลี้ยง
      1. การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย
      เหมาะสมที่จะดำเนินการในพื้นที่ย่านน้ำตื้นซึ่งมีความลึกประมาณ 4-6 เมตร ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ที่มีสภาพเป็นอ่าวทั่วไป พื้นทะเลตั้งแต่ เส้นขอบฝั่งออกไปไม่ลาดชันเกินไป สภาพเป็นโคลน และโคลน  ปนทรายระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดไม่แตกต่างกันมากนัก และมีอาหารตามธรรมชาติที่เพียงพอ 
       2. การเลี้ยงแบบแพ 
- การถักแพเชือก ขนาด 40x40 ตารางเมตร
- การผูกถังทุ่น ขนาด 20-30 ลิตร
- การเตรียมทุ่นสมอปูน
- การเคลื่อนย้ายทุ่นสมอปูน
- การนำแพเชือกลงทะเล
       3. การเลี้ยงแบบแขวนบนราวเชือก
       เหมาะสำหรับแหล่งเลี้ยงที่มีระดับน้ำลึกและปลอดภัยจากกระแสคลื่นลมแรงส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เชือกเส้นใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 100 เมตร มีทุ่นผูกเป็นระยะ 2-4 เมตร เพื่อให้หอยเกาะมีระยะห่างกัน 50 เซนติเมตร ปลายเชือกยาวไม่เกินระดับน้ำลงต่ำสุด      ที่ปลายเชือกเส้นใหญ่ทั้งสองข้างผูก ไว้กับสมอยึดไม่ให้เคลื่อนที่ ถ้าเป็นทุ่นใหญ่อาจผูกเชือกคู่ก็ได้ ผลผลิตพอๆ กับการเลี้ยงหอยแบบแพ  แต่วิธีการ เชื่อว่ามีความต้านทานต่อคลื่นลมได้ดี
        4. การเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
      การเลี้ยงแบบตาข่ายเชือกสามารถเลี้ยงได้ในระดับน้ำลงต่ำสุด 2 เมตร และในบริเวณดินแข็งที่ไม่สามารถปักไม้เลี้ยงหอยได้ การเลี้ยงแบบนี้มีข้อดี คือวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุสังเคราะห์ซึ่งหาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป 
      ขั้นตอนในการเลี้ยงหอยแบบข่ายเชือก
- การเตรียมฐานเสา เส้นผ่านศูนย์กลาง 150 ซม. ยาว 50ซม.ตั้งในแบบ 4ท่อน เทปูนสูงประมาณ 30 ซม.
- การเตรียมเสาเหล็กสวมใส่ท่อพีวีซี
- การเตรียมราวเชือก
- การวางฐานเสาและการเคลื่อนย้ายฐานเสา
- การสวมเสาหลัก
- การขึงเชือก 14-16 มิลลิเมตร
- การวางตาข่ายเชือก
- การเก็บเกี่ยวลูกหอย

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                   อย่าให้น้ำเสียไหลผ่านแปลงเลี้ยงหอยเพราะจะทำให้หอยตาย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา