ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานก้านจากในรูปแบบ

โดย : นางประคอง คงสุด วันที่ : 2017-08-24-13:48:11

ที่อยู่ : บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 2 ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ    

                         บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 2  ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นหมู่บ้านที่มีต้นจากขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยาง และ อาชีพประมง อาชีพเสริมคือการลอกใบจากขาย ในการขายใบจากนั้นจะขายเฉพาะใบจากส่วนดีซึ่งนำไปมวนยาสูบ ส่วนก้านจากเป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทิ้งเป็นขยะ บางครั้งก็นำไปซ้อนทับกันรองเป็นทางเดินในบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นถึงจนแฉะ การประกอบอาชัพทำสวนยางจะใช้เวลาช่วงเช้าจนเที่ยงก็เสร็จภารกิจ ช่วงบ่ายมีเวลาว่าง ประกอบกับมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งในหมู่บ้านมีความรู้ด้านการจักสานก้านจากซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ กลุ่มสตรีบ้าน นายอดทองกลัวว่าภูมิปัญญาการจักสานก้านจากจะสูญหาย จึงรวมกลุ่มกันเรียนรู้การจักสานก้านจาก เริ่มแรกก็เรียนการจักสานเสวียนหม้อซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากทางราชการสอนแนะ การจักสานก้านจากในรูปแบบต่างๆ จนปัจจุบัน  ลักษณะที่โดดเด่นของก้านจาก คือ มีความทนเหนียว จักสานเป็นของใช้รูปแบบต่างๆสวยงาม เป็นวัสดุเหลือใช้ เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ชายทะเลซึ่งมีป่าชายเลน โดยเฉพาะต้นจากจะเจริญงอกงามในเขตป่าชายเลน

วัตถุประสงค์ ->

จักสานเป็นของใช้รูปแบบต่างๆสวยงาม เป็นวัสดุเหลือใช้ เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ชายทะเลซึ่งมีป่าชายเลน โดยเฉพาะต้นจากจะเจริญงอกงามในเขตป่าชายเลน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์

                    1. ก้านจาก

                    2. มีด

                    3. น้ำมันวานิช

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

                    1. ก้านจาก

                    2. มีด

                    3. น้ำมันวานิช

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน

                   1. นำก้านจากสดที่เหลือจากการลอกใบจากแล้ว มาเหลาด้วยใบมีดโกน ให้สะอาด

                   2. คัดก้านที่มีความยาวเท่าๆกันโดยที่ไม่ต้องตัดก้านส่วนใดออก มาตั้งฐานตามรูปแบบ

ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

                   3. แล้วสานขึ้นรูปทรงของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

                   4. ตกแต่งดึงก้านให้ตึง หลังจากนั้นทำขอบฐาน แล้วสานรางพัดเสร็จตามรูปแบบที่ต้องการ

 แล้วตกแต่งความเรียบร้อยตัดส่วนก้านที่เหลือออก ผสมวานิชกับน้ำมันสนเข้าด้วยกัน แล้วใช้แปรงทา

ให้ทั่ว เพื่อป้องกันเชื่อรา และนำไปผึงแดดหรือลมจนแห้ง 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                       การน้ำมันวานิชจะต้องให้ชิ้นงานแห้งสนิทปราศจากความชื้น  หลังขากนั้นก็ลงน้ำมันวานิชเคลือบเงาเพื่อให้เกิดความสวยงาม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา