ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหอยแครง

โดย : นายแปลก หนูช่วย วันที่ : 2017-08-24-10:45:11

ที่อยู่ : หมู่ 1บ้านท่าเรือ ต วังวัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา/แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ทำ    

                       หอยแครงที่นิยมเลี้ยงทั่วไป เป็นหอยที่ชอบฝังตัวอยู่ตามชาดหาดโคลนหรือเลนละเอียดในบริเวณชายฝั่งทะเลจนถึงแนวที่อยู่ห่างฝั่งออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร หอยแครงจะมีนิสัยชองฝังตัวอยู่ในโคลน ลึกตั้งแต่ประมาณ 1-12 นิ้ว โดยเราจะสังเกตุเห็นเป็นรูจำนวน 2 รู ที่ผิวดินซึ่งเป็นช่องทางน้ำเข้าและออก และสามารถเห็นรอยเคลื่อนที่ของหอยเป็นร่องๆ โดยใช้เท้าในการเคลื่อนที่เพื่อหาอาหารหลบหลีกศัตรูและเพื่อหาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมหอยแครงจะขึ้นมาที่ผิวดินเมื่อน้ำขึ้นเพื่อหาอาหาร และจะฝังตัวใต้ดินเมื่อน้ำลงเพื่อป้องกันน้ำออกภายนอกตัวหอย แต่จะเปิดฝาทั้งสองเล็กน้อย โดยจะยังมีสภาวะการไหลเวียนของน้ำและการหายใจเกิดขึ้นตามปกติภายในเปลือก

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์      

               ๑.ลดการจับหอยจากธรรมชาติเป็นการอยุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอีกทางหนึ่ง

               ๒.เพิ่มรายได้และสร้างอาชีพแก่สมาชิกในครัวเรือน

               ๓.ลดรายจ่ายในครัวเรือน /ใช้บริโภคในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์

               ๑.ลูกหอย

               ๒.อุปกรณ์การคราดหอย

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์

               ๑.ลูกหอย

               ๒.อุปกรณ์การคราดหอย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน

           การเลือกทำเลเลี้ยงหอยแครง
               1. ควรเลือกชายฝั่งทะเลที่มีหอยเกิดอยู่ตามธรรมชาติ หรือสามารถหาพันธุ์หอยได้สะดวก
               2. การเลือกลักษณะพื้นที่ ต้องเป็นหาดโคลนเรียบ มีความลาดเอียงเล็กน้อย
               3. ดินเป็นดินเลน ดินโคลนละเอียด หรือดินเหนียวปนทราย
               4. ความลึกของน้ำบริเวณแหล่งเลี้ยงประมาณ 0.5-1.0 เมตร
               5. ความเค็มของน้ำบริเวณแหล่งเลี้ยงควรเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 10-30 ส่วนในพัน
               6. ไม่ควรอยู่ใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม

 
          รูปแบบการเลี้ยง
               1. การเลี้ยงแบบดั้งเดิม
               2. การเลี้ยงแบบพัฒนา 

          การตรียมแปลงเลี้ยงและการรวบรวมพันธุ์หอยแครง

               1. แยกลูกหอยแครงออกจากเศษขยะและวัสดุต่างๆ ทำความสะอาดนำไปบรรจุในถุงปุ๋ย ถุงละประมาณ 60 กิโลกรัมใช้น้ำทะเลราดกระสอบจนชุ่มจึงเย็บปากถุง
               2. นำถุงลูกหอยขึ้นบรรทุก ใช้ด้านยาวของกระสอบขวางตัวรถ และไม่คลุมถุงหอยจนทึบ สามารถให้ลมผ่านไปมาได้สะดวก 
               3. ไม่ควรให้ลูกหอยถูกน้ำจืดหรือแดดโดยเด็ดขาด ควรเดินทางในตอนกลางคืน
               4. ระยะเวลาในการลำเลียงลูกหอยไม่ควรเกิน 36 ชั่วโมง ตั้งแต่บรรจุจนถึงแปลงหว่าน
         การหว่านลูกหอยลงแปลงเลี้ยงและการจัดการดูแลรักษา
               1. ชั่งน้ำหนักหอยทั้งกระสอบ
               2. นำลูกหอยออกมาชังให้ได้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม แล้วนับจำนวนลูกหอย
               3. คำนวณจำนวนลูกหอยในแต่ละกระสอบ
               4. จดขนาดแปลงหอยที่แบ่งได้
               5. ทราบความต้องการหว่านหอยในอัตราความหนาแน่น ตัว/ ตารางเมตร
                    - หอยขนาดเล็ก 1,500 ตัว/กิโลกรัมขึ้นไป หว่านในอัตรา 600 ตัว/ตารางเมตร 
                    - หอยที่มีขนาดโต หว่านในอัตรา 300-500 ตัว/ตารางเมตร
               6. คำนวณการใช้หอยต่อแปลง (400x400 = 160,000 ตัว หรือ 6.0 กระสอบ)

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                      ควรเลือกทำเลที่ไม่มีน้ำเน่าเสีย 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา