ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานฝาไม้ไผ่

โดย : นายสมชาย ทองประดับ วันที่ : 2017-07-25-09:48:00

ที่อยู่ : ๑๙๖ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยนาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การสานฝาเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ตกทอดมาแต่โบราณต้องใช้ความสามารถ ความรอบคอบ ความละเอียด และความประณีตในการปฏิบัติงานทั้งยังเป็นการฝึกนิสัยผู้ปฏิบัติให้มีความรอบคอบ เรียบร้อยและยังนำผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพื่อช่วยเหลือครอบครัวได้เป็นอย่างดี ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์มีลวดลายหลากหลาย มีความสวยงาม ฝีมือปราณีต มีความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลวดลายให้เลือกมากกว่า 20 ลาย ราคายุติธรรม นำไปทำที่พัก รีสอร์ท เพื่อโชว์ความสวยงามของลายเป็นที่ชอบใจของลูกค้าต่างประเทศเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่สร้างกระบวนการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไป

วัตถุประสงค์ ->

แต่เดิมไม้ไผ่สานเป็นฝาผนังบ้าน  ปัจจุบันนำมาประยุกต์ใช้ทำเป็นเพดานบ้านก็มี  หรือดัดแปลงไปทำของประดับตกแต่งบ้านหรือร้านอาหารต่าง ๆ นับว่าเป็นรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง  ฝาบ้านไม้ไผ่แต่เดิมใช้สีไม้ไผ่ธรรมชาติ  คือ สีเขียว และสีขาว ปัจจุบันใช้สีทาได้ตามชอบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่โป๊ะ

อุปกรณ์ ->

มีดพร้า,ขวาน,ค้อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เริ่มจากการคัดเลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนและแก่เกินไปวัดขนาดความยาวตามความต้องการและตัดไม้ไผ่ หลังจากนั้นผ่าไม้ไผ่ด้วยดอกจำปาซึ่งเป็นเครื่องมือผ่าไม้ไผ่ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้านที่คิดจะทำให้ได้ซี่ไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่ากันตามจำนวนดอกจำปาที่ใช้ผ่า นำไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วมาจักด้วยมีดตอกแยกออกเป็น 2 เส้นจะได้ด้านขาวและด้านเขียวแล้วนำมาสานให้เป็นลวดลายที่สวยงามต่อไป หลังจากสานฝาเสร็จแล้ว ให้นำฝาไปตากแดดให้แห้ง พยายามอย่าให้โดนฝนเพราะจำทำให้เป็นเชื้อรา หลังจากนั้นนำตอกไม้ไผ่ที่ผ่าเรียบร้อยแล้วมาวางเรียงกัน และคัดตามลายที่ต้องการ ได้แก่ลายหนึ่ง ลายสอง ลายสาม ลายลูกแก้ว หรือลายดอกพิกุล โดยการใช้ค้อนหรือสันขวานเคาะไล่ให้ได้ความแน่นหนา

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา