ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกมะกรูด

โดย : นางสาวคชาภรณ์ ช่องสมบัติ วันที่ : 2017-07-11-22:24:30

ที่อยู่ : เลขที่ 222/1 บ้านควนทองสีห์ หมู่ที่ 6 ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันความต้องการในภาคครัวเรือนมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ และในภาคอุตสาหกรรมของการทำอาหารก็สูงขึ้นเช่นกัน เช่น โรงงานผลิตน้ำพริกสำเร็จรูป หรือจะเป็นโรงงานผลิตผงปรุงรสต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ ใบมะกรูด เป็นส่วนประกอบในการผลิตแทบทั้งสิ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเตรียมเดิน ก็เหมือนการปลูกไม้ผลทั่วไป ขุดหลุม ขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน กรีดถุงดำออก น้ำต้นกล้าลงปลูก กลบดิน รดน้ำ คลุมฟาง และทำหลักปักกับต้นเพื่อกันโยกเวลาลมพัด

อุปกรณ์ ->

           - ผลมะกรูดแก่ ๆ หรือผลที่ร่วงอยู่ใต้ต้นในสภาพสมบูรณ์

          -  อุปกรณ์ทำความสะอาดเม็ดมะกรูด มีด, ช้อน, ถาดรอง

           - แก้วพลาสติกธรรมดา

           - ถุงดำสำหรับปลูกต้นกล้า

           - กระถางดินเผา

           - ดินร่วน

           - ปุ๋ยคอก

           - กาบมะพร้าวสับ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  การปลูกมะกรูดตัดใบ ต้องเลือกสภาพพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม โดยเลือกพื้นที่เป็นสภาพดินร่วนปนทราย หรือพื้นที่ที่มีการระบายน้ำที่ดีเพราะมะกรูดเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ที่สำคัญการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ถึงแม้มะกรูดจะเป็นพืชทนแล้งและไม่ต้องการน้ำมาก แต่หากเราต้องการจำหน่ายใบมะกรูดทั้งปี การให้น้ำมีความจำเป็นในการแตกใบของมะกรูดเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม

วิธีการปลูกมะกรูด   นำเมล็ดมะกรูดมาล้างน้ำแล้วตากให้แห้ง เพาะลงในกระถางที่มีดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอก เมื่อมีใบงอกออกมา 3-4 ใบ ให้ย้ายมาปลูกในถุงเพาะ รอให้ต้นแข็งแรงแล้วค่อยย้ายลงไปปลูกในกระถางที่มีดินร่วนผสมปุ๋ยคอก รดน้ำแค่ตอนเช้าเท่านั้น และนำมาตั้งให้โดนแดดวันละ 8 ชั่วโมง

ข้อพึงระวัง ->

 การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา