ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักสวนครัว

โดย : นางสาวชุลี ช่องสมบัติ วันที่ : 2017-07-11-22:31:39

ที่อยู่ : 105/2 บ้านควนทองสีห์ หมู่ที่ 6 ตำบลบางเป้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้มอบแนวทางให้ราษฎรได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาสู่การ ปฏิบัติ   ตามพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อให้เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยใช้หลักการพัฒนาชุมชนเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ด้วยตนเอง  บนฐานความพอประมาณ  ความมีเหตุผล ความรู้และคุณธรรม  สร้างระบบคุ้มกันแก่ชุมชนและครัวเรือน  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในชีวิตประจำวัน ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ประหยัดและอดออม จนเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นภายในหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      อินทรีย์วัตถุ (Organic material) เช่น ปุ๋ยคอก ซึ่งได้แก่มูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลของสัตว์ใดก็ตาม ถ้าเป็นมูลเก่าย่อมนำมาใช้ผสมเป็นวัสดุปลูกได้ทั้งสิ้นปัจจุบันปุ๋ยคอกมีราคาแพงหายากขึ้นปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดินคือช่วยลดความหนาแน่นเพิ่มความพรุนของดิน และมีผลทางอ้อมในการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้กับต้นพืช นอกจากปุ๋ยคอกแล้ว ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ ขี้เถ้าแกลบ เปลือกถั่ว ขี้เลื่อย ขี้กบ เปลือกไม้ ชานอ้อย หรือกากน้ำตาล ฯลฯ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรุงดินได้ทั้งสิ้น

2.      อนินทรีย์วัตถุ (Inorganic material) วัสดุปรุงดินที่เป็นอนินทรีย์วัตถุ จะช่วยในเรื่องการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศเป็นส่วนใหญ่ อนินทรีย์ที่ใช้ในการปรุงดินที่ได้จากธรรมชาติคือทราย ทราย ที่ใช้ในการผสมดินปลูกพืชได้แก่

1.      ทรายหยาบ ที่ใช้ในการก่อสร้าง มีขนาดเม็ดหยาบโต เหมาะที่จะช่วยในการระบายน้ำ แต่ไม่ค่อยมีธาตุอาหาร นำมาใช้ในการปักชำพืช และใช้ผสมดินปลูก

2.      ทรายละเอียด หรือทรายขี้เป็ด ลักษณะสีคล้ำ เม็ดละเอียด ทรายชนิดนี้มีตะกอนปนอยู่ด้วย จึงมีธาตุอาหารปนอยู่อาจใช้ปลูกพืชได้โดยปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่หยาบ เช่น ผสมกับเปลือกถั่ว แกลบผุ หรือขี้กบ แต่ถ้าทรายชนิดนี้มีขี้เลนปนอยู่ทำให้การระบายน้ำไม่ดี ไม่เหมาะ กับการปลูกพืช

อุปกรณ์ ->

1.  จอบขุด

      2 จอบถาก

      ๓. เสียม

      ๔. พลั่ว พลั่วมี 2 ชนิดคือ

           - พลั่วหน้าแหลม ใช้สำหรับตักดิน ทราย หรือปุ๋ย

           - พลั่วหน้าตัดตรง ใช้สำหรับผสมดิน

      ๕.ช้อนและส้อมพรวน

       ๖. ป็งกี๋ ใช้ในการขนดิน หรือปุ๋ย

 

 

       ๗.คราด มีดดายหญ้า     

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกล จากที่พักอาศัยมากนักเพื่อ ความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมา ประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผัก มากชนิด ที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควร พิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอก ของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือ ซองที่บรรจุ เมล็ด พันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้น ใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง

ฤดูการปลูก การปลูกผักควรเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพดี จึงควรพิจารณาเลือกปลูกผัก ดังนี้
ผักที่ควรปลูกในต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี้ยบเขียว
ผักที่ควรปลูกปลายฤดูฝน ผักใดที่ปลูกต้นฤดูฝนก็ปลูกได้ผลดีในปลายฤดูฝน ยิ่งกว่านั้นยังปลูกผักฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ แครอท แรดิช ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอมห่อ ข้าวโพดหวาน แตงเทศ แตงโม พริกยักษ์ พริกหยวก ฟักทอง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย
ผักที่ควรปลูกในฤดูร้อน ได้แก่ ผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและ ความแห้งแล้ง ได้ แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า-เย็น ต้องพรวนดินแล้วคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื่นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้นควรทำร่มรำไรให้ด้วย) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดขาวใหญ่ มะเขือมอญ
ผักและพืชบางอย่างที่ควรปลูกไว้รับประทานตลอดปีได้แก่ พืชที่ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่างๆ

ข้อพึงระวัง ->

          ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวน ที่ กำหนด เพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรค และแมลงระบาดมากควร ใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็น พวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาว โรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา