ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำผ้าบาติด

โดย : นางสุภร พรมจิตร์ วันที่ : 2017-07-06-22:10:04

ที่อยู่ : ๑๑๙/1 หมู่ที่ ๔ ตำบลบางหมาก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มโต๊ะเมืองบาติก เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มสตรีในหมู่บ้าน บ้านโต๊ะเมืองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอกันตัง ได้เกิดการเรียนรู้และนำมาผสมผสานด้านภูมิปัญญากับภูมิปัญญาของชาวบ้านในการประดิษฐ์ลายผ้าบาติกเริ่มแรกผลิตเป็นผ้าชิ้นสำหรับตัดเสื้อต่อมาพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ กระเป๋า เสื้อยืด ผ้าถุง ภาพติดฝาผนัง โดยเน้นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งผ่านการคัดสรรตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกรมกาพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับ ๔ ดาว ปัจจุบันนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในและนอกชุมชนและต่างจังหวัด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑) ผ้าขาวอย่างดี ๕ ชนิด

                             -ผ้าคอตตอล ๑๐๐%

                             -ผ้าปิเก้

                             -ผ้าป่านมัสลิน

                             -ผ้าไหมธรรมดา (ซาติน)

                             -ผ้าไหมอินโด

                 

                            

                         

 

 

 

                             -กระทะสำหรับต้มผ้าเพื่อทำเทียนที่เขียนไว้ออก

                             -พู่กันอย่างดีหลายเบอร์ตามต้องการ

                             -แก้วสำหรับใส่สี

                             -น้ำสะอาด (น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำบาดาล น้ำประปา)

                             -น้ำยาซิลิเกด (เคลือบผ้ามิกซ์สีไม่ให้สีลอก)

                             -กระดาษลอกลาย

                             -ผ้าสำหรับรองปากกาเขียนเทียน

                             -ปากกาทาสี ตามขนาดของงานที่ใช้

                             -แปรงทาซิลิเกดขนาด ๔ นิ้ว

อุปกรณ์ ->

-เทียนสำหรับเขียน

                             -สีสำหรับบาติก (ชนิดผง)

                             -เตาไฟฟ้าสามารถปรับองศาได้

                             -ภาชนะต้มเทียน

                             -ปากกาเขียนเทียน (จั่นติ้ง)

                             -ดินสอเขียนลายชนิดละลายน้ำ

                             -เฟรมไม้ (ขนาด ๑x๒”) หาได้ในท้องถิ่น

-กระทะสำหรับต้มผ้าเพื่อทำเทียนที่เขียนไว้ออก

                             -พู่กันอย่างดีหลายเบอร์ตามต้องการ

                             -แก้วสำหรับใส่สี

                             -น้ำสะอาด (น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำบาดาล น้ำประปา)

                             -น้ำยาซิลิเกด (เคลือบผ้ามิกซ์สีไม่ให้สีลอก)

                             -กระดาษลอกลาย

                             -ผ้าสำหรับรองปากกาเขียนเทียน

                             -ปากกาทาสี ตามขนาดของงานที่ใช้

                             -แปรงทาซิลิเกดขนาด ๔ นิ้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.ตัดผ้าขนาด ๒ หลา หรือตามขนาดที่ต้องการ

 ๒.นำไปเขียนลายบนผ้า                

          ๓.นำผ้าที่เขียนลายบนผ้าแล้วไปขึงเฟรมให้ตึงทั้ง ๔ ด้าน

          ๔.ใช้ปากกาเขียนตามลายที่วาดไว้บนผ้าหรือเขียนตามจินตนาการก็ได้

          ๕.นำมาลงสีตามต้องการตามลายที่วาดไว้            

          ๖.ลงสีในช่องว่างของลาย (สีพื้น)

 ๗.ทิ้งไว้จนสีแห้งทั้งผืน                      

          ๘.ทาซิลิเกดทิ้งไว้ประมาณ ๔-๖ ชั่วโมง

          ๙.ดึงผ้าออกจากเฟรมมาล้างน้ำสะอาดเพื่อต้องการให้ซิลิเกดออกจนหมดโดยการสัมผัส (ไม่ลื่น)

๑๐.นำผ้ามาต้มเพื่อต้องการนำเทียนที่เขียนอยู่บนผ้าออกจนสะอาด (ผสมผงซักฟอกเล็กน้อย) เนื่องจากไม่ให้เทียนกลับไปติดผ้าอีก

๑๑.สังเกตุด้วยสายตาว่าเทียนที่เขียนไว้ออกจากผ้าหรือไม่

          ๑๒.ใช้ความร้อนสูง ๑๒๐ องศา (แก๊สหรือไม้ฝืน)

          ๑๓.นำผ้ามาล้างน้ำเย็นอีกครั้งเมื่อเห็นว่าเส้นเทียนที่เขียนไว้ออกหมดแล้ว

๑๔.บิดผ้าให้แห้งพอหมาดๆ

๑5.นำผ้ามารีดให้เรียบร้อย

          ๑6.แปรรูปพร้อมจำหน่าย ปลีก-ส่ง

ข้อพึงระวัง ->

๑.ไม่ใช้แม่สีโดดๆ

๒.ต้องใช้สีผสมในโซนเดียวกัน

๓.ใช้พู่กันเฉพาะที่

๔.ใช้นิ้วมือเกลี่ยสีเพื่อเป็นเงาของแสงกระทบ

๕.เขียนเทียนให้เท่าๆกัน

๖.ขึงผ้าให้ตึง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา