ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำจักสานจากหวาย

โดย : นางอรวรรณ กุลตัน วันที่ : 2017-06-29-21:58:39

ที่อยู่ : 183 หมู่ที่ 6 ตำบลลิพัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสานเป็นอาชีพเสริมที่สร้างให้แก่ครอบครัว คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านลานมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด จักสานเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ประเพณี วัฒนธรรมของพื้นบ้าน มีการสืบทอดเทคนิควิธีการมาหลายช่วงอายุคน ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาลวดลายในแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานในการออกแบบจากสภาพการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หวายต่าง ๆ  และไม้ก้างปลา

อุปกรณ์ ->

(มีดตอก  เหล็กแหลม  แป้นรีดหวาย  ค้อน  ไม้ดัดลูกกรง)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หวาย  มีคุณสมบัติพิเศษ  คือ  สามารถดัดได้  มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะ  มีลำต้นขนาดเท่ากันตามชนิด  มีความมันในระดับผิว  จึงเหมาะต่อการจักสาน  ทำเฟอร์นิเจอร์  ขนาดของลำต้นจะมีตั้งแต่  3 - 60 มม.  ความยาวตามสิ่งแวดล้อม  เช่น  อาศัยไม้ที่ปีนป่ายมีความยาวตั้งแต่  10-20  เมตร  อายุการใช้งาน  7-10  ปี  หวายมีหลายชนิด  ทุกประเภททำจักสาน  เฟอร์นิเจอร์  และเป็นอาหาร  รวม  23  ชนิด 

1.  หวายนิ่ม เปลือกสีผิวมันวาวคล้ายหวายตะค้าทอง  ลำต้นยาวเสมอ  ขนาดเท่ากับหวายน้ำซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  10 -15  มม. แต่มีลำต้นยาวถึง  10-50  เมตร  ขึ้นในป่าดิบ  ใช้ทำโครงสร้างงานจักสาน  อ่อนนิ่ม  ดัดง่าย  แก่เนื้อเหนียว

การจักสานหวายอย่างง่าย

1.  เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ  (มีดตอก  เหล็กแหลม  แป้นรีดหวาย  ค้อน  ไม้ดัดลูกกรง)

2.  เตรียมหวายต่าง ๆ  และไม้ก้างปลา

      2.1  คัดหวาย  เส้นเล็กเอาไว้ทำลูกกรง

      2.2  หวายน้ำ  เอาไว้ทำโครงสร้างตะกร้าดัดเป็นรูปทรง

      2.3  ไม้ก้างปลา  เอาไว้ทำโครงสร้างรูปทรงต่างๆ

      2.4  นำวัตถุดิบแต่ละอย่างแช่น้ำพอประมาณ (20-30  นาที)  ต้องน้ำบ่อ หรือน้ำฝนจึงจะดี

3.  ขั้นตอนการทำฐาน (ก้นตะกร้า)

            1. นำไม้เจลยมาดัดเป็นวงกลมวงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ซ.ม. หรือตามต้องการใช้ตะปูเข็มตอกยึดเอาไว้ จากนั้นใช้เส้นหวายที่รีดแล้วพันรอบวงกลม โดยพันเว้นช่องแต่พองาม

            2. นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอก แล้วใช้เส้นหวายที่รีดมาพันรอบวงกลมทั้ง 2 วงให้ติดกันจนครบรอบวงกลม

            3. ใช้หวายน้ำ 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอกยึดรอบวง เพื่อเป็นฐานรองรับก้นตะกร้าให้แข็งแรง

            4. นำไม้เจลยจำนวน 8 ท่อน มีขนาดยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตะกร้าตีกากะบาท 8 มุมตอกตะปูยึดกับวงกลม

5. ใช้เส้นหวายที่รีดแล้ว สานเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมคล้ายใยแมงมุม ความกว้างพอประมาณ  (5 ซ.ม.)

            6. ใช้หวายหางหนูทั้งต้นที่เลือกไว้มีขนาดเท่ากัน นำมาขดให้เต็มวงกลมคล้ายขดยากันยุงใช้เส้นหวายสานยึดแต่ละเส้นจนครบ สิ้นสุดการทำก้นตะกร้าโดยสมบูรณ์  

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา