ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงปลาดุก

โดย : นายสุทธิรักษ์ คงด้วง วันที่ : 2017-06-29-11:29:38

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 147 หมู่ที่ 12 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92190

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา  เนื่องจากได้อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ทำการเกษตรมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้รู้เห็นการทำการเกษตรมาตั้งแต่เด็ก และได้เรียนรู้ การพัฒนาด้านการเกษตรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ  เข้ามาผสมประสาน จึงทำให้เกิดความชำนาญ  ต่อมาได้เข้ารับการฝึกอบรมจากวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดตรัง ในการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก   ก็ได้นำความรู้ที่ได้มาทดลองทำจนปัจจุบัน ได้เลี้ยงไว้เพื่อขายสร้างรายได้แก่ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ผ้าใบพลาสติก

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  เลือกพื้นที่เหมาะสมสามารถหาน้ำจืดได้สะดวก มีร่มเงาเล็กน้อย

2.  ขนาดของบ่อพลาติด มีความลึกประมาณ 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร โดยขุดแบบลาดเอียงทั้งสี่ด้าน เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และง่ายต่อการปูพลาสติกโดยจะพับเก็บพลาสติกไว้ที่มุมของบ่อทั้งสี่มุม

3.  การปูพลาสติกในบ่อก่อนปูสำรวจพื้นที่ให้ดีไม่ควรมีเศษไม้ เศษหินหลงเหลืออยู่ในก้นบ่อ เพราะเศษต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้พลาสติกขาดได้ วิธีการปูพลาสติกให้จับทั้งสี่มุม วางตรงบ่อ ค่อยๆ ปล่อยพลาสติกลงไป จับให้พอดีกับขนาดของบ่อ

4.  ใส่ดินรองก้นบ่อให้หนาประมาณ 10 ซม. เพื่อป้องกันการขาดของพลาสติก เพราะปลาดุกเป็นปลาที่ชอบมุดเวลามุดหาเศษอาหารที่ก้นบ่อ อาจทำให้ไปโดยพลาสติกก้นบ่อขาดได้

5.  ใส่น้ำให้เต็มบ่อเพื่อป้องกัน และยืดอายุของพลาสติก เพราะถ้าใส่น้ำไม่เต็มบ่อพลาสติกจะโดนแดด พอนานๆ ไปพลาสติกจะเปราะและขาดง่าย

6. ควรเตรียมน้ำให้มีกรดด่าง  หรือ PH  ประมาณ 7-7.5 โดยใช้ EM ในการปรับสภาพน้ำ โดยวิธีการผสม EM 2  ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 ถัง เทใส่บ่อปลา ปรับสภาพน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์  ก็สามารถนำปลามาเลี้ยงในบ่อได้เลย

วิธีการเลี้ยงปลา

1.  การนำลูกปลาลงปล่อยในบ่อเลี้ยง  ให้นำถุงลูกปลาเช่ในบ่อปรับสภาพอุณหภูมิก่อนปล่อยลงบ่อ

2.  อาหาร/การให้อาหาร ใช้อาหารเม็ดคู่กับอาหารจากธรรมชาติ  เช่น แมลง ปลวก  ไส้เดือน 

3.  การปรับสภาพน้ำ โดยใช้ EM   เพื่อย่อยสลายของเสียภายในบ่อและทำให้ปลาแข็งแรง

4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หากบ่อมีกลิ่น ให้ถ่ายน้ำให้เหลือ 1/3 ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาช๊อคเวลาเปลี่ยนน้ำใหม่

ข้อพึงระวัง ->

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ มีผลกับการเจริญเติบโตของปลา จะต้องให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา