ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำสวนยางพารา

โดย : นายสมพงษ์ เพชรสีช่วง วันที่ : 2017-06-29-11:04:58

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่ามใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบเนื่องจากมีพื้นที่ว่างอยู่มากพอสมควรจึงเลือกปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็วโดยเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุได้ 2 ปี ขึ้นไป  และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นมีความทนทานต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากกว่าพืชอายุสั้นต่างๆ มีการลงทุนครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ มากกว่า 25 ปี

วัตถุประสงค์ ->

เป็นรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

มีดกรีดยาง , ไฟแาย , ถังใส่น่้ำยาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เตรียมพื้นที่ในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนธันวาคม เมษายน โดย
โค่นและกำจัดต้นไม้ออกจากแปลง ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยตลอดจนสร้างถนนและทางระบายน้ำไว้ด้วย  การสร้างทางระบายน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นมากในการจัดการเพื่อใช้ในการเข้าปฏิบัติงานการดูแลรักษาและเก็บ
                2.วางแนวการปลูกโดยพิจารณาจากการความสอดคล้องกับ
การทำงานการระบายน้ำ ความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ระยะปลูกที่เหมาะสมของปาล์มน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าปลูกห่างหรือถี่เกินไปจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า เพราะใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มที่โดยกำหนดแถวหลักเป็นฐานอยู่ในแนวทิศเหนือ ใต้ แถวที่ใกล้กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก

 9 x 9 x 9 เมตร

                3.หลุมปลูก เมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องไม้แล้ว ขุดหลุมขนาดกว้าง x ยาวx ลึก = 45 x 45 x 35 เซนติเมตร เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุม เพื่อจะได้ระยะปลูกที่เป็นระเบียบขุดดินชั้นบนและชั้น
ล่างแยกกัน เมื่อขุดแล้วควรตากไว้ประมาร 10 วัน ก่อนนำต้นกล้ามาปลูก 

ข้อพึงระวัง ->

1. การเลือกพื้นที่ ต้องพิจารณาถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ ลักษณะดิน และการขนส่ง
                2. พันธุ์น้ำมันที่ส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันคือ พันธุ์เทเนอร่า
                3. การปลูก ควรมีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสม และปลูกอย่างถูกวิธีในต้นฤดูฝน เพื่อให้ปาล์มน้ำมัน         เจริญเติบโตได้ดี
                4. การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันได้รับปุ๋ยเคมีในปริมาณและชนิดของธาตุอาหารที่เพียงพอใน              ช่วงเวลาที่
                เหมาะสมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของเกษตรกร คือ กำไรสูงสุด
                5. การปลูกพืชคลุมและการใช้ทะลายเปล่าคลุมโคนต้นเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยลด           การสูญเสียความชื้นจากหน้าดิน และให้สารอาหารแก่พืช
                6. การให้น้ำ ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณ 250-350 มิลลิกรัม/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมี            การให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงเงินทุนด้วย
                7. การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ควรเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มในระยะที่สุก              พอดี ไม่ควรตัดผล ปาล์มดิบไปขายเพราะจะถูกตัดราคา และต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินและดินปน และต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา