ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกยางพารา

โดย : นายจรุพนธ์ บัวเพ็ด วันที่ : 2017-06-29-11:00:53

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 79/5 หมู่ที่ 8 ตำบล นาท่ามใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบเนื่องจากการประกอบอาชีพหลักมาแต่ดั้งเดิมคือทำสวนยางพารา การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของครอบครัว  นอกจากการปลูกยางพารา  เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็วโดยเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุได้ 2 ปี ขึ้นไป  และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง 

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพดั้งเดิมที่มีรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

มีดกรีดยาง , ไฟฉาย , ถังใส่น้ำยาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. วางแนวปลูกให้มีระยะห่างระหว่างแถว 9*9 เมตร

                                2. ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างกว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย  โดยให้หลุมปลูกมีลักษณะเป็นรูปตัวยู หรือทรงกระบอกและควรแยกดินบนออกจากดินล่าง  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย

                                3. ต้นกล้าน้ำมันที่นำมาปลูกควรเป็นต้นกล้าที่มีอายุมากกว่า 10 เดือน  ซึ่งมีลักษณะต้นแข็งแรง สมบูรณ์  สูงจากดินในถุงประมาณ 100 – 150 ซม.

                                4. นำถุงพลาสติกออก(ขณะเอาออกควรระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตได้)

                                5. นำดินชั้นบนที่แยกไว้ขณะขุดหลุม  กลบตามลงไปก่อนจากนั้นจึงตามด้วยดินชั้นล่าง

                                6. การที่จะทำให้ปาล์มน้ำมันโตดี มีผลผลิตภายใน  1 ปี (หลังปลูก) อยู่ที่การกลบดินให้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ

                         

                                7. การรดน้ำให้ปุ๋ย  การให้ปุ๋ยจะโรยให้บริเวณขอบรอบนอกของแอ่งกระทะ เมื่อฝนตกหรือรดน้ำ น้ำจะช่วยชะให้ปุ๋ยค่อย ๆ ไหลลงไปหาต้นปาล์มที่อยู่ตรงกลาง  ด้วยลักษณะการกลบหลุมให้เป็นแอ่งกระทะดังกล่าว  จะช่วยทำให้รากชอนไชออกมาเป็นวงกว้าง  เมื่อมีการให้ปุ๋ยในลักษณะที่รากจะวิ่งหาปุ๋ยที่อยู่ขอบรอบนอก  ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ต้นปาล์มแข็งแรง โตเร็ว  ผลผลิตจะได้ภายใน 1 ปี (หลังปลูก)

ข้อพึงระวัง ->

ระวัง

1. โรคใบไหม้ พบมากในระยะต้นกล้าหากรุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้

2. โรคก้านทางใบบิด พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง มีผลให้

การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันหยุดชะงัก

3. โรคยอดเน่า ระบาดมากในฤดูฝน เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันตั้งแต่ในระยะกล้า แต่ส่วน

ใหญ่มักจะพบโรคนี้กับต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี ทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย

4. โรคทะลายเน่าทำลาย ผลปาล์มก่อนที่จะสุก ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง ทำให้

เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการให้น้ำมันน้อยลง

5. โรคลำต้นเน่า พบมากกับต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมาก ปัจจุบันพบระบาดมากกับต้นปาล์ม

อายุ 10-15 ปี 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา