ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การกรึดยางพารา

โดย : นายสมโชค ช่วยชะนะ วันที่ : 2017-06-29-10:14:17

ที่อยู่ : 83/1 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากเพาะปลูกและรอคอยจนกระทั่งต้นยางพาราเจริญเติบโตพร้อมจะเก็บเกี่ยวผล ผลิต หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก คือ การกรีดยาง เพื่อเก็บน้ำยาง อันจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางการกรีดยางด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ชาวสวนยางได้รับน้ำยางปริมาณมากในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้ต้นยางที่โดนกรีดไม่บอบช้ำเสียหายต้นยางที่โดนกรีดอย่างผิดวิธีจะเกิดความเสียหาย ไม่สามารถกรีดซ้ำได้ หรือไม่ก็ได้น้ำยางในปริมาณที่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะกว่าจะปลูกยางพาราให้เจริญเติบโตจนกระทั่งพร้อมจะกรีดได้ ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางทุกท่าน จึงควรให้ความสำคัญกับวิธีการกรีดยางให้มากและตัวข้าพเจ้าเองได้เกิดมาในครอบครัวที่ทำสวนยางมาตั้งแต่บรรพบุรุษจึงมีความตระหนักที่จะรักษาต้นยางพาราให้สามารถใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด จึงฝึกหัดกรีดยางมาตั้งแต่เด็กๆ จนเกิดความชำนาญในการกรีดยางเป็นอย่างดีสามารถถ่ายทอดให้คนอื่น ๆ ได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อต้องการกรีดยางให้มีประสิทธิภาพ ได้น้ำยางมาก และยืดอายุของต้นยางพาราให้สามารถใช้งานได้หลายปียิ่งขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ต้นยางพารา

อุปกรณ์ ->

1.มีดตัดยาง

2.หินลัดมีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ต้นยางที่เพาะจากเมล็ด  ลักษณะของต้นยางประเภทนี้ จะมีโคนต้นที่ใหญ่กว่าบริเวณลำต้น ซึ่งบริเวณโคนต้นเปลือกจะหนาและมีปริมาณน้ำยางมาก หากยิ่งกรีดสูงขึ้นไป จะยิ่งได้น้ำยางน้อยจากการทดสอบพบว่า ถ้ากรีดยางที่เพาะจากเมล็ดที่ระดับความสูงจากโคนต้น 15 เซ็นติเมตร และ 45-60 เซ็นติเมตร  ปริมาณน้ำยางที่ได้จากการกรีดที่ความสูง 15 ซม. จะมากกว่าประมาณ ครึ่งเท่าแต่อย่างไรก็ดีการที่น้ำยางออกมาเกินไป จะส่งผลให้ต้นยางเป็นโรคเปลืองแห้ง หรือ แคระแกรนได้สำหรับวิธีที่จะทราบได้ว่าต้นยางพาราที่เพาะจากเมล็ดสามารถเริ่มกรีดได้แล้วหรือไม่ ให้วัดความยาวรอบต้นยาง ที่ความสูง 75 เซ็นติเมตร จากพื้นดิน หากวัดรอบต้นได้ 50 ซม. ก็สามารถเริ่มกรีดยางได้แล้ว

2. ต้นยางที่เพาะจากการติดตา ต้นยางประเภทนี้ จะมีลำต้นตั้งแต่โคนไปจนถึงด้านบนเกือบเท่ากัน ความหนาขอเปลือกยางที่ระดับความสูงวัดจากพื้นในช่วงระดับ 90 ถึง 125 เซนติเมตรไม่ต่างกันมาก และก็ให้ปริมาณน้ำยางในการกรีดพอ ๆ กันชาวสวนยาง สามารถทราบได้ว่าสามารถเริ่มกรีดยางประเภทนี้ได้แล้ว โดยการวัดความสูงจากรอยติดตาที่อยู่บริเวณโคนต้นยางขึ้นไป 125 เซ็นติเมตร จากนั้นทำการวัดความยาวรอบลำต้นที่ตำแหน่งนั้น ถ้ามีความยาวมากกว่า 50 เซ็นติเมตร ก็สามารถเริ่มกรีดยางได้

ข้อพึงระวัง ->

- ต้นยางที่เพาะจากเมล็ด ให้เริ่มกรีดที่ระดับความสูงจากพื้น 75 ซม. โดยกรีดจากด้านซ้ายมือของคนกรีดเอียงลงมาทางด้านขวาด้วยมุม 25 องศา ความยาวในการกรีด คือ ครึ่งต้น

- ต้นยางติดตา ให้เริ่มกรีดที่ระดับความสูงจากรอยติดตาบริเวณโคนต้น 125 เซ็นติเมตร กรีดจากซ้ายมือของผู้กรีดลงมาทางขวา เอียงทำมุม 30 องศาเพื่อความสะดวกในการเริ่มเปิดกรีดด้วยตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้ใช้ไม้เช่นเดียวกับที่ใช้วัดลำต้นดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ตอนปลายให้เปลี่ยนจากลวดเป็นสังกะสีกว้าง 5 เซ็นติเมตร ยาว 45 เซ็นติเมตร ตอกแนบติดเข้ากับทางแบนที่ปลายไม้ข้างหนึ่ง โดยหันชายไปทาง ซ้าย ไม้แบบที่จะใช้กับต้นที่เกิดจากเมล็ดให้เอียงสังกะสี ทำมุมขึ้นไป 25 องศา และสำหรับต้นติดตาให้ทำมุม 30 องศาเมื่อจะทำแนวหน้ายางในการเปิดกรีด ก็ใช้ไม้วัดดังกล่าว ตั้งทาบเข้ากับส่วนสูงของลำต้น แล้วแนบแผ่นสังกะสีพันวนไปทางด้านซ้ายมือ ใช้มือซ้ายจับปลายสังกะสีไว้ แล้วขีดเส้นตามแนวบนของแผ่นสังกะสี ตั้งแต่จุดครึ่งต้นของลำต้น ไปจนสุดสังกะสีที่ติดอยู่กับไม้ รอยที่เกิดขึ้นนี้ คือ แนวหน้ายางที่จะเปิดกรีดด้วยความยาวครึ่งต้น ซึ่งมีความสูงและความลาดเอียง ตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง การเปิดกรีดจะทำในทิศทางเดียวกันหมดทุกต้น รวมทั้งการกรีดก็จะเหมือนกันทุกต้นด้วย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา