ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ด

โดย : นายวิษณุ ทองสม วันที่ : 2017-06-27-20:16:11

ที่อยู่ : 239.....หมู่ที่...1... ตำบล....หนองบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น   สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ หรือหากมีปริมาณมาก ผลผลิตล้นตลาดก็สามารถนำมาแปรรูปได้  เป็นต้น การดูแลไม่ยุ่งยาก  จำหน่ายได้ทั่วไป ครัวเรือนนิยมบริโภค 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

          ซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาบ่มให้เชื้อเดินเต็มถุง เปิดถุงเพื่อให้เห็ดออกดอกและเก็บผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่าย

สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

1.โรงเห็ด/สถานที่สำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด  

          2.สายยางสำหรับรดน้ำ  

3.ตะกร้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

โรงเรือน และวัสดุเพาะ สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไป  โครงสร้างของโรงเรือน  ใช้วัสดุที่หาได้ในชุมชน ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจาก

การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือนไม่มีรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ (A) หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้ววางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป หันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน

          วัสดุเพาะ และสารอาหาร คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องหมัก เก็บรักษาง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งๆ ก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็ได้

การใส่อาหารเสริม ในการทำก้อนเชื้อ นิยมเติมแร่ธาตุอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมที่เห็ดสามารถนำไปใช้ได้โดยตรงในกองขี้เลื่อยหมักหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เพื่อให้เส้นใยเดินเร็ว และให้ผลผลิตสูงขึ้น อาหารเสริมที่ใช้ได้แก่
1. รำละเอียด  เพราะมีโปรตีนเป็นที่ต้องการของเห็ดมาก
2. ปูนขาว และยิบซั่ม ปูนขาวช่วยลดความเป็นกรด และยิปซั่มช่วยลดความเป็นด่าง เพื่อ ให้วัสดุเพาะมีสภาพเป็นกลาง หรือค่าของกรดด่างอยู่ในระดับ 6.5 – 7.2
3. ดีเกลือ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใย และเร่งการเกิดดอกเห็ด

ข้อพึงระวัง ->

ก้อนเชื้อเห็ดต้องไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา