ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงสัตว์และปลูกผักตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : ร.ต. อรุณ สงสม วันที่ : 2017-07-25-09:31:30

ที่อยู่ : ๑๒๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่างิ้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากได้เรียนรู้มาจากโครงการพระราชดำริ  ของในหลวง ร.๙  ที่ศูนย์พัฒนาพิกุลทอง  แล้วนำความรู้มาพัฒนาที่ดินของตนเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

วัตถุประสงค์ ->

              ๑.เพื่อต้องการถ่ายทอดความรู้เรื่องการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพิเพียง

              ๒.เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

              ๓.เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตวัสดุอุปกรณ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

        1.การเลี้ยงไก้ไข่

เล้าไก่

               ๑.ทำโรงเรือนจากไม้มีหลังคากันแดดกันฝนได้

               ๒.อวน สำหรับขังไม่ให้ไก่ออกไปนอกบริเวณ

               ๓.ที่ใส่อาหาร

               ๔.ที่ใส่น้ำ

               ๕.วัสดุปูพื้นคอก

วัสดุการเลี้ยง

               ๑.พันธุ์ไก่ไข่

               ๒.อาหารสดและอาหารสำเร็จรูป

               ๓.ยารักษาโรค

               ๔.ถาดเก็บไข่

               ๕.อุปกรณ์คัดไข่

 

อุปกรณ์ ->

        1.การเลี้ยงไก้ไข่

เล้าไก่

               ๑.ทำโรงเรือนจากไม้มีหลังคากันแดดกันฝนได้

               ๒.อวน สำหรับขังไม่ให้ไก่ออกไปนอกบริเวณ

               ๓.ที่ใส่อาหาร

               ๔.ที่ใส่น้ำ

               ๕.วัสดุปูพื้นคอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง
                2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได้ การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขึ้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น bการผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรง การแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
                3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ
                4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

           2.การปลูกผักสวนครัว 

  ควรคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆ ดังนี้
                1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกล จากที่พักอาศัยมากนักเพื่อ ความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมา ประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
                2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผัก มากชนิด ที่สุดเพื่อจะได้มีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควร พิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอก ของเมล็ดพันธุ์ วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือ ซองที่บรรจุ เมล็ด พันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้น ใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง

            ฤดูการปลูก การปลูกผักควรเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้ได้ผักที่มีคุณภาพดี จึงควรพิจารณาเลือกปลูกผัก ดังนี้
             ผักที่ควรปลูกในต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี้ยบเขียวผักที่ควรปลูกปลายฤดูฝน ผักใดที่ปลูกต้นฤดูฝนก็ปลูกได้ผลดีในปลายฤดูฝน ยิ่งกว่านั้นยังปลูกผักฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ แครอท แรดิช ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอมข้าวโพดหวาน แตงเทศ แตงโม พริกยักษ์ พริกหยวก ฟักทอง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่ายผักที่ควรปลูกในฤดูร้อน ได้แก่ ผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและ ความแห้งแล้ง ได้ แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า-เย็น ต้องพรวนดินแล้วคลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื่นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้นควรทำร่มรำไรให้ด้วย) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดขาวใหญ่ มะเขือมอญผักและพืชบางอย่างที่ควรปลูกไว้รับประทานตลอดปีได้แก่ พืชที่ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่างๆ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา