ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงปลาในกระชัง

โดย : นางเย็นจิตร์ แซ่เลี้ยว วันที่ : 2017-07-07-23:41:05

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 37/1 หมู่ที่ 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากสภาวะปัจจุบันครัวเรือนที่ทำสวนยางพารากระทบกับปัญหาราคายางไม่แน่นอน ตกต่ำ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ประกอบกับบ้านแตะหรำมีพื้นที่ติดกับทะเลข้าพเจ้าจึงได้หัดมาประกอบอาชีพด้านการเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ครั้งแรกเลี้ยงเพียงกระชังเดียวเพราะยังไม่ประสบการณ์ เมื่อประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจจึงขยายการเลี้ยงออกไปเรื่อยๆ จึงได้พบปะกับกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังมากขึ้น ทำให้ได้รับแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันสามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นได้

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อต้องการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

2.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ปลา

อาหารปลา

 

อุปกรณ์ ->

กระชังไนล่อนขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.50 เมตร ประกอบด้วยเนื้ออวนเบอร์ 15 มีขนาดตา 2.0-2.5 ซ.ม.  สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ 300 ตัว ต้นทุนของกระชังขนาดดังกล่าวคิดเป็นเงินกระชังละ 1600-1800 บาท ใช้ได้นาน 3-4 ปีอาหารที่ใช้เลี้ยง เป็นพวกเศษปลาเบ็ดเตล็ดราคาถูก ประมาณกิโลกรัมละ 1.50-2 บาท  โดยสับเป็นชิ้นพอเหมาะกับขนาดปลาที่เลี้ยง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  การเลือกทำเลในการติดตั้งกระชังเลี้ยงปลาเป็นแหล่งที่มีระดับความลึกของน้ำอย่างน้อย 1 เมตร  มีกระแสน้ำไหลผ่านสะดวกเป็นแหล่งที่มีเครื่องกำบังคลื่นลมตามธรรมชาติได้ดีเพื่อให้กระชัง ปลอดภัยจากการถูกทำลายของคลื่นลม เช่นบริเวณที่ลึกเข้าไปในทะเลสาป ปากแม่น้ำ ลำคลอง และอ่าวปิดบางแห่งเป็นแหล่งที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดน้ำเสีย ซึ่งเป็นพิษเป็นภัยต่อปลาที่เลี้ยงและผู้บริโภคเนื้อปลาแหล่งที่วางกระชังควรอยู่ห่างจากเส้นทางสัญจรทางน้ำ เพื่อให้กระชังปลอดภัยจากการถูกเรือชน อันเป็นเหตุให้กระชังเสียหาย ปลาหนีออกจากกระชังได้ ปราศจากเสียงรบกวน

2.  วัสดุที่ใช้ในการเลี้ยงปลา

กระชังไนล่อนขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.50 เมตร ประกอบด้วยเนื้ออวนเบอร์ 15 มีขนาดตา 2.0-2.5 ซ.ม.  สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ 300 ตัว ต้นทุนของกระชังขนาดดังกล่าวคิดเป็นเงินกระชังละ 1600-1800 บาท ใช้ได้นาน 3-4 ปีอาหารที่ใช้เลี้ยง เป็นพวกเศษปลาเบ็ดเตล็ดราคาถูก ประมาณกิโลกรัมละ 1.50-2 บาท  โดยสับเป็นชิ้นพอเหมาะกับขนาดปลาที่เลี้ยง

 

 

3.  การดูแลรักษา

เมื่ออนุบาลลูกปลาได้ขนาดประมาณ 10 ซ.ม. จึงนำปลาปล่อยลงเลี้ยงในกระชังที่วางเตรียมไว้  โดยให้อาหารในเวลาที่มีน้ำขึ้นเต็มที่ โยนให้กินคราวละน้อย ๆ ให้กินอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงจนกว่าปลาจะหยุดกิน ไม่ควรให้อาหารมากเกินความจำเป็น เพราะอาหารจะเหลือตกค้างอยู่ในกระชังกลับเป็นเหยื่อล่อปูและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้ามาทำลายกระชัง อันเป็นเหตุให้ปลาหนีออกจากกระชังไปได้ ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นลงตรวจกระชัง เพื่อป้องกันการสูญหายของปลาในกระชัง

ข้อพึงระวัง ->

การเตรียมพันธุ์ปลา
        ปลากระรัง (ปลาเก๋า)ที่จะปล่อยเลี้ยงในกะชังต้องมีขนาดความยาว 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) ขึ้นไป จึงจะเลี้ยงได้ผลดี มีอัตรารอดตายมากกว่า 90%
        การ จัดปลาลงเลี้ยงในกระชังนั้น จะต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในกระชังเดียวกัน เพราะถ้าปล่อยปลาขนาดต่างกันมาก ปลาใหญ่จะแย่งกินอาหารได้มากกว่าและปลาขนาดเล็กจะไม่กล้าเข้าไปแย่งอาหาร ทำให้ปลาเจริญเติบโตต่างกันมาก จากผลการทดลองของกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพบว่า สามารถปล่อยปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้วลงไปเลี้ยงได้ในอัตราปล่อยตั้งแต่ 100-300 ตัวต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและทำเลของที่ตั้งกระชัง โดยในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่มีสภาพน้ำไม่ดีนัก น้ำไหลถ่ายเทไม่ดีพอ สามารถปล่อยเลี้ยงได้ในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร

ประสบการณ์ ปลากะพงเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดี มีราคาดีพอสมควรหาพันธุ์ปลาได้

ง่าย มีทุกขนาด และสามารถหาได้ในปริมาณไม่จำกัดสามารถเลี้ยงได้แพร่หลายทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณปากแม่น้ำที่มีความเค็มแปรเปลี่ยนได้ง่ายข้อเสียของการเลี้ยงปลากะพงขาวมีปัญหาเรื่องตลาด เนื่องจากส่งไปขายต่างประเทศได้น้อยมาก ทั้งนี้เพราะต่างประเทศได้สั่งซื้อ
ลูกปลาจากประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านไปเลี้ยง ทำให้มีปริมาณเนื้อปลาพอเพียง

ก่อนการปฏิบัติงานควรเตรียมเครื่องมือและวัสดุในการทำงานไว้ให้พร้อมเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและช่วยให้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา