ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักเหมียง

โดย : นายสายัณต์ รอดเปลี่ยน วันที่ : 2017-06-22-11:02:07

ที่อยู่ : 19/1 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักเหลียงเป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒ เมตร มีใบเรียว ยาว สามารถนํายอด ของผักเหลียงมา รับประทานได้ โดยนํามาปรุงเป็นอาหาร ได้ หลายอย่าง เช่น ผัดผกเหลียงใส่ไข่ แกงเลียง ผักเหลียงใส่กุ้ง หรือนํามาต้มกะทิใช้รองห่อ หมก ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากของชาว ภาคใต้           

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริมมให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ผักเหมียง ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ

อุปกรณ์ ->

1.จอบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ผักเหมียง เป็นพืชผักชนิดหนึ่ง เป็นไม้พุ่มไม้ป่าที่เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาต้นไม้อื่นๆ เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้นจำพวกยางพารา จึงเป็นพืชที่เหมาะจะนำมาปลูกเป็นพืชร่วมยาง มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ

1. ชนิดใบกว้าง หรือใบใหญ่  – มีขนาดใบกว้างประมาณ 9 ซม. ปลายใบแหลม แต่ไม่เรียว เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก

2. ชนิดใบแคบหรือใบยาว – ใบมีขนาดประมาณ 5.5 ซม. ยาวประมาณ 18 ซม.

3. ชนิดใบเล็ก – ใบกว้างประมาณ  10 ซม. ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม

ระยะปลูก

             ระยะปลูกระหว่างต้นยางนั้น ควรปลูกให้ห่างจากต้นยางข้างละ 2 เมตร  ปลูกต้นเหมียงเป็นแถวคู่ ระยะปลูกของเหมียงนั้นจะใช้ระยะประมาณ 3 x 3 เมตร ขนาดหลุมปลูกกว้าง  50 ซม. ยาว 50 ซม.   ความลึก 50 ซม. ควรแยกดินบนและดินล่าง ไว้คนละส่วนกัน ตากดินและหลุม ประมาณ 7-15 วัน ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตรองก้นหลุมในอัตรา 100 กรัม ต่อ 1 หลุม และใช้ปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินด้านบนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ให้พืชได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการเจริญเติบโตของต้นพืช จากนั้นนำต้นเหมียงมาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วกลบดินที่เตรียมไว้ ให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไม้มาปักหลัก ไม่ให้ต้นเหมียงล้ม ในช่วงแรกๆ เราควรหมั่นดูแลรดน้ำจนกว่าต้นเหมียงจะตั้งตัวได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา