ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปรุงยาสมุนไพร

โดย : นายตะเหลบ สุเหร็น วันที่ : 2017-06-22-10:49:06

ที่อยู่ : 35/8 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           สมุนไพร เป็นยาพื้นบ้านแผนโบราณของไทยมาแต่อดีต ความนิยมในการใช้สมุนไพรได้ลดถอยลงไป

บ้าง เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเภสัชศาสตร์สมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันสมุนไพร กลับมาได้รับความนิยมกันมาก ในเมืองไทย และโลกตะวันตก ต่างประเทศกำลังหาทางเข้ามาลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรนำไปใช้สกัดหาตัวยาเพื่อ รักษาโรคบางชนิด มีหลายประเทศนำสมุนไพรไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

           การเตรียมยาสมุนไพรอย่างถูกวิธีการ((น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15 กรัม)

ยาต้ม"ยาต้ม" นั้น นับว่าเป็นการเตรียมยาจากพืชสมุนไพรที่มีมาช้านานแล้ว เป็นการเอาน้ำมาเป็นตัวละลายตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร
ข้อดีของ "ยาต้ม" ก็ได้แก่ ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ง่ายการเตรียมก็ทำได้ง่ายดายและสะดวกมาก
แต่ก็มีข้อเสีย ได้แก่ รสชาติ นั่นเอง รวมทั้งกลิ่นของยาอีกด้วย บางทีก็อาจจะดื่มกินได้ลำบาก เพราะมีรสไม่ชวนดื่มสำหรับผู้ที่กินยายาก
อีกอย่างหนึ่ง "ยาต้ม" ทั้งหลายก็เก็บเอาไว้ไม่ได้นานมิหนำซ้ำยังขึ้นราได้ง่ายอีกด้วย
หากต้องการเก็บรักษาเอาไว้นานก็จะต้องใช้สารกันบูดผสมลงไปก็ได
วิธีการเตรียม "ต้มยา"
1. น้ำและภาชนะที่ใช้ต้มยา
น้ำที่ใช้ในการต้มยานี้จะต้องเป็นน้ำที่ใสบริสุทธิ์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการต้มยาจะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของยา โดยปกติก็จะใส่น้ำให้พอท่วมตัวยาที่มีอยู่
ภาชนะที่ใช้ในการต้มยานั้นควรเป็นภาชนะดินเผาหรือหม้อเคลือบก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก เพราะจะทำให้สาร "แทนนิน" ที่มักพบในพืชสมุนไพรทำปฏิกิริยากับโลหะได้ ซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้


2. การเตรียมยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรที่ใช้ต้มควรหั่นเป็นชิ้นพอดี ถ้าเป็นแก่นก็หั่นเป็นชิ้นเท่า ๆ กัน ถ้าเป็นใบใหญ่ เช่น ชุมเห็ดเทศให้หั่นเป็นฝอย แต่ถ้าใยเล็ก เช่น ฟ้าทะลาย กระเพรา ก็ให้ใช้ทั้งใบไปเลย ขนาดไม่ควรเล็กเกินไป เพราะจะทำให้กรองยาต้มยาก และเวลาต้มอาจจะเกิดการไหม้ได้ง่าย
3. การต้มยา
ให้เติมน้ำสะอาดลงไปในตัวยา คนให้เข้าด้วยกัน แช่ทิ้งไว้สัก 20 - 30 นาทีก่อนต้ม เพื่อให้ยาสมุนไพรดูดซึมน้ำได้เต็มที่ (แต่ถ้าเป็นพืชสมุนไพรสด ๆ ก็ไม่ต้องแช่น้ำ) ใช้ไฟขนาดกลางต้มจนเดือด ใช้เวลาต้มไปสัก 15 - 20 นาทีก็พอ
เวลาเดือดจะต้องคอยดูแลยาต้มให้ดี ระวังอย่าให้ยาไหม้ที่ก้นหม้อได้ (ในการต้มยาไทย ส่วนมากจะต้ม 3 เอา 1 คือ ใส่น้ำลงไป 3 ส่วนของปริมาณที่ต้องการใช้ แล้วต้มให้น้ำเหลือ 1 ส่วน) ยาต้มควรรับประทานในเวลาท้องว่าง ส่วนจำนวนครั้งและปริมาณก็ให้เป็นไปตามกำหนดในวิธีใช้ยา
ยาต้มทั่วไปไม่ควรทิ้งไว้ค้างคืน ต้มแล้วรับประทานให้หมดภายในวันเดียว

ข้อพึงระวัง ->

 ความสะอาด

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา