ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงหมูหลุม

โดย : นายสัมพันธ์ จักรทอง วันที่ : 2017-06-21-15:26:44

ที่อยู่ : 11 หมู่ที่ 5 ตำบลคลองลุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก  โดยใช้วัสดุรองพื้น    มีแนวคิด

ตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจาการเกษตรเท่านั้น  แต่มีปรัชญาและแนวคิดอยู่เบื้องหลัง เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม  วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร  ดิน  พืช  สัตว์  จุลินทรีย์  พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด  น้ำและดิน  นำมาปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์กินพืช  นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น  และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลางที่เหมาะสมกับทรัพยากร  ภูมิปัญญาในท้องถิ่น  และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน  โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายที่การพัฒนาชนบท  การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสูการแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างงานสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำพื้นคอก
1.ใส่แกลบสูง 30 ซม.
2.ใส่มูลโค-กระบือ 8 ถุงปุ๋ย และรำข้าว 8 ถุงปุ๋ย ให้ทั่ว
3.ผสมน้ำจุลินทรีย์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 10 ลิตรรดให้ทั่วพอชุ่ม
4.ชั้นต่อไปทำเหมือนเดิมจนครบ 3 ชั้น ทิ้งไว้ 7 วัน ปล่อยปล่อยให้เกิดการหมักของจุลินทรีย์  จึงนำลูกหมูหย่านมมาเลี้ยง  เมื่อเลี้ยงได้ระยะหนึ่งให้เติมวัสดุรองพื้นคอกด้วย  และคอยเติมให้เต็มเสมอ
3.พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้  และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี  หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม

.อาหารและวิธีการเลี้ยง
4.1ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด  สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น  เป็นเวลา 15 วันแรก  หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จลงจนครบ 1 เดือนไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป  โดยในตอนกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก  และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง
4.2ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย  งดให้อาหารสำเร็จรูป  เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้รำปลายข้าว ในอัตรา 1: 1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม  โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3 ถึง 3เดือนครึ่ง  ได้น้ำหนักประมาณ 80-100  กก.

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา