ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การตอนกิ่งพันธุ์ไม้

โดย : นายวิเชียร สองเมือง วันที่ : 2017-06-19-17:01:47

ที่อยู่ : 35/1 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองชีล้อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ใช้กันมานาน และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวสวนทั่วๆ ไป วิธีการตอนกิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นวิธีการที่ได้นำมาจากประเทศจีน แต่ได้ดัดแปลงไปบ้าง เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ ในยุโรป และอเมริกา ก็มีวิธีขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่งเช่นเดียวกัน แต่วิธีการในการตอนกิ่งผิดไปจากวิธีที่รู้จักกันดีในบ้านเรา และเรามักเรียกวิธีการตอนกิ่งแบบยุโรปว่า "การตอนทับกิ่ง" ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือการตอนกิ่งแบบตอนหุ้มกิ่ง ซึ่งมีวิธีการตอนหุ้มกิ่งหลายแบบ          

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ขุ๋ยมะพร้าว

2.ดิน

3.ต้นพ้นธุ์ไม้

4.เมธารัสซิล

อุปกรณ์ ->

1.มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการเริ่มจากการเตรียมตุ้มตอน นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ 2-3 วัน จากนั้นนำขึ้นมาใส่ตะกร้าทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ให้พอหมาด ใช้เมธารัสซิลผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบนขุยมะพร้าวเพื่อป้องกันเชื้อรา เสร็จแล้วนำมาใส่ถุงมัดไว้รอเพื่อนำไปตอน ซึ่งตุ้มตอนไม่ควรให้มีขนาดใหญ่ เพราะทำให้กิ่งมะนาวรับน้ำหนักมากเกินไปและอาจจะหักได้

ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกกิ่งตอน ควรเป็นกิ่งอ่อนเพราะรากจะเจริญได้เร็ว และนำไปปลูกต่อก็จะเจริญเติบโตได้ดี เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ตอน ซึ่งห่างจากยอดกิ่งประมาณ 30 เซนติเมตร สังเกตใต้ตาใบที่กิ่งจะเห็นเป็นตุ้มซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหาร ให้ควั่นบริเวณใต้ตุ้มดังกล่าว 2 รอยห่างประมาณ 1 เซนติเมตร มีดต้องคมแผลตอนจะได้ไม่ช้ำ พร้อมลอกเปลือกออก ใช้มือลูบเมือกที่แผลออกให้หมด จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน ผู้ตอนอาจลืมว่ากิ่งไหนควั่นแล้ว อาจผูกเชือกทำเป็นสัญลักษณ์เอาไว้กันลืม

ที่สวนจะไม่ใช้วิธีการขูดเนื้อเยื่อบริเวณแผลตอน เพราะทำให้แผลช้ำทั้งยังทำให้เกิดการระบาดของเชื้อโรคในสวนขึ้นได้ เนื่องจากเราไม่รู้ว่ากิ่งไหนเป็นโรคอยู่ ซึ่งการตอนอาจนำเชื้อโรคจากต้นหนึ่งไปสู่ต้นอื่นๆ ที่สวนจึงใช้วิธีการควั่นทิ้งไว้เพื่อให้แสงแดดทำลายเนื้อเยื่อและท่อลำเลียงอาหารแทนการขูด และการควั่นทิ้งไว้ยังเหมือนเป็นการแกล้งให้กิ่งมะนาวหิว ให้กิ่งหาอาหารเองซึ่งก็สร้างปมเหลืองๆ ขึ้นมาบริเวณแผลตอน เมื่อผูกตุ้มตอนก็ทำให้รากเดินได้เร็วขึ้น  หลังจากควั่นทิ้งไว้ 4-5 วัน ก็นำตุ้มตอนมาห่อ โดยผ่ากลางตุ้ม ใช้ปลายมีดเขี่ยกะปิขนาดเท่าหัวไม้ขีดมาใส่ไว้กลางตุ้ม แล้วนำไปมัดไว้ที่แผลตอน มัดด้วยตอกให้แน่น กะปิก็จะกระจายไปทั่วทั้งตุ้ม ซึ่งกะปิก็คือไคโตซาน มีคุณสมบัติเร่งการงอกของรากอีกทั้งยังเป็นอาหารสำรองให้กับกิ่งพันธุ์ด้วย ทำให้กิ่งพันธุ์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกเคล็บลับหนึ่งสำหรับการตอนให้ได้กิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพก็คือ หากเป็นหน้าร้อนควรหงายให้จุกตุ้มตอนอยู่ด้านบน แต่หากเป็นหน้าฝนให้จุกตุ้มตอนทิ่มลงด้านล่าง ซึ่งทำให้ความชื้นในตุ้มตอนเหมาะสมไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป

ข้อพึงระวัง ->

1) การทำให้เกิดการสะสมอาหารและสารบางชนิดที่จำเป็นต่อการงอกราก ในบริเวณที่ทำการตอน โดยวิธีการทำให้กิ่งเกิดแผล เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชในส่วนอื่นๆ จึงเกิดการสะสมอาหารและสารบางอย่างขึ้นเหนือแผลที่ทำการตอน
2) การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการงอกรากของพืช เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และแสงสว่าง 
3) การดูแลรักษา ควบคุมความชื้นหรือการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย อันเกิดจากศัตรูอื่นๆ เช่น มด แมลง สัตว์เลี้ยง เป็นต้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา