ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำผ้าบาติก

โดย : นางอารอบ ชาตรีวงศ์ วันที่ : 2017-06-14-10:56:42

ที่อยู่ : 96 หมู่ที่5 ตำบลกันตังใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อตอนวัยรุ่นได้ไปทำงานที่จังหวัดภูเก็ต และเข้าทำงานที่กลุ่มผ้าบาติก ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิด  คือบ้านแตะหรำ หมู่ที่ 5 ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ได้นำความรู้จากการทำผ้าบาติกมาประกอบอาชีพและมาจัดตั้งเป็นกลุ่มของตนเอง ชื่อกลุ่มว่า ผ้าบาติกบ้านแตะหรำ และขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ตั้งแต่ปี  2547 มีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 15 คน  และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อต้องการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

2.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.        ผ้าบาติก

2.        สี

3.        เทียน

4. โซเดียมซิลิเกรด

 

4.

อุปกรณ์ ->

 1.ผ้าที่ใช้ทำผ้าบาติกควรเป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติและมีเนื้อบางในปัจจุบันนิยมใช้ทั้งผ้าชนิด

เนื้อบางจนถึงเนื้อหนาขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทำได้แก่ ผ้าซันฟอร์ไรด์ ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้าแพรเยื่อไม้ เป็นต้น                                                                                                  2.สี  ทีใช้ในงานบาติกมีหลายชนิด ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นสีย้อมผ้าประเภทย้อมเย็นละลายน้ำได้และมองเห็นสีโดยตรง โดยมากมักจะอยู่ในกลุ่มสีรีแอคทีฟเนื่องจากใช้สะดวกและมีกระบวนการไม่ยุ่งยาก3. เทียนเทียนที่ใช้เขียนผ้าประกอบด้วยขี้ผึ้งมากเทียนจะเหนียว ถ้าผสมพาราฟีนมากเทียนจะเปราะหรืออาจใช้เทียนผสมสำเร็จที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปก็ได้                                                        3.ปากกาเขียนเทียน(JANTING) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้เขียนลวดลายเทียนลงบนผ้า มีขนาดแตกต่างกันทั้งเส้นเล็กเส้นกลาง และเส้นใหญ่หรืออาจใช้แปรงทาเล็กเกอร์แบ่งเป็นซีกๆ จุ่มเทียนเขียนลายบนผ้าก็ได้แต่วิธีนี้ใช้จะได้เส้นใหญ่ไม่สามารถเขียนลายที่ละเอียดได้                           

4..กรอบไม้ เป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมมีหลายลักษณะ ใช้สำหรับขึงผ้าในเวลาเขียนผ้าในเวลาเขียนเทียน

 5.พู่กัน พู่กันสำหรับระบายสีใช้ได้ทั้งชนิดกลมและชนิดแบนควรเตรียมไว้หลายขนาด             

 6.ภาชนะผสมสี อาจใช้ถ้วยพลาสติก ถ้วยแก้ว ถ้วยสแตนเลส แล้วแต่ต้องการและควรให้มีปริมาณเพียงพอที่จะใช้งาน                                                                                               7.โซเดียมซิลิเกรต   ใช้สำหรับทาบรผ้า เพื่อให้สีติดทนนาน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำผ้าบาติกโดยวิธีการเพ้นท์ลวดลายได้ตามต้องการ เพราะเราสามารถระบายสีได้หลายสีลงผ้าผืนเดียวกันสะดวกและรวดเร็วกว่าวีธีย้อม ช่วยให้เกิดความสวยงามแปลกตาขึ้นมี ขั้นตอนดังนี้              

1.การออกแบบลวดลายก่อนปฎิบัติงานทุกครั้งควรมีการออกแบบลวดลายและกำหนดกลุ่มสีที่จะใช้ให้เหมาะสมกับชิ้นงานแล้วใช้ดินสอเขียนผ้าร่างลวดลายลงบนผ้าเตรียมไว้

2.การเขียนลวดลาย
            เป็นขั้นตอนสำคัญของการทำผ้าบาติก การเขียนเทียนที่ดีส่งผลให้ขั้นตองการลงสีสมบูรณ์ขึ้นเทียนที่เขียนผ้าต้องซึมทะลุผ้าด้านหน้าและด้านหลังจึงจะสามารถกันสีย้อมได้ เรานำผ้าที่ร่างลวดลาย
ไว้แล้วนั้นมาขึงบนกรอบไม้แล้วใช้เครื่องมือเขียนเทียนตักน้ำเทียนเขียนลงบนผ้าตามลวดลายนั้น
จนเสร็จ (สำหรับผู้ที่มีความชำนาญก็ไม่จำเป็นต้องร่างลวดลายไว้ก่อน สามารถเขียนเทียนลงบนผ้าได้เลย)

3.การระบายสีลงบนผ้า
             ผสมสีย้อมเตรียมไว้แล้วใช้ภู่กันจุ่มสีระบายลงบนผ้าอย่างระมัดระวัง อย่าให้สีซึมเลอะไปในบริเวนที่ไม่ต้องการจะทำให้เกิดข้อบกพร่องในงานได้เมื่อสีที่ระบายแห้งสนิทดีแล้วจึงทาด้วยโซเดียมซิลิเกรตให้ทั่วผ้าทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

4.การต้มละลายเทียน
             เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำผ้าบาติก โดยนำผ้าที่ทาเคลือบด้วยโซเดียมซิลิเกรตไปล้างน้ำขณะล้างน้ำจะมีสีส่วนเกินจำนวนหนึ่งละลายออกมากับน้ำจึงต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ ขยี้ผ้าเบาๆจนน้ำที่ซักผ้าใสไม่นำอ่างใส่น้ำพอประมาณตั้งไฟให้น้ำเดือดเติมผงซักฟอกและโซดาแอสเล็กน้อยแล้วนำผ้าที่ล้างโซเดียมซิลิเกรตแล้วนั้นลงต้มเพื่อละลายเทียน จนเทียนละลายออกหมดจึงนำมาซักน้ำจนผ้าสะอาดก็จะได้ผลงานผ้าบาติกเพ้นท์สีที่สวยงาม

เตรียมการปลูกมะนาวตามวิธีของเราคือ ระยะห่างระหว่างแถวและ ระหว่างต้นคือ 3x3 เมตร ซึ่งวัดจากกึ่งกลางของวงท่อ โดยพื้นที่ที่จะทำการปลูกจะต้องปรับสภาพให้เรียบเสมอกัน จากนั้นทำการ  วางวงบ่อซีเมนต์ ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ให้วางฝาก่อนแล้วค่อยวางท่อบนฝาอีกทีบ่อซีเมนต์นั้นเมื่อวางตามตำแหน่งต่างๆได้เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการตรวจสอบด้วยสายตาว่า วงไหนเอียงไม่ได้ส่วนให้เอาหินหรืออิฐ วางรองใต้ฝาเพื่อให้ได้ระดับไม่ลาดเอียง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา