ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก

โดย : นางเอื้องคำ ครชาตรี วันที่ : 2017-06-05-20:56:10

ที่อยู่ : 122/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อหิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้  ประหยัดต้นทุน  และที่สำคัญที่สุดไม่เสียพื้นที่ในการขุดบ่อปลา  ใช้พื้นที่น้อยผสมผสานกับการเกษตรอย่างอื่นก็ได้  โดยรอบคันบ่อควรปลูกผักสวนครัวซึ่งการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  นอกจากเป็นการลดรายจ่ายซึ่งเป็นการใช้บริโภคในครัวเรือนแล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ด้วยการนำส่วนที่เหลือจากการบริโภคไปจำหน่ายซึ่งตลาดมีความต้องการสูงเนื่องจากเป็นธรรมชาติและปลอดสารพิษ

วัตถุประสงค์ ->

1.      เพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

2.      สร้างความสามัคคีต่อคนในชุมชน

3.      ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4.       ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                   1. พลาสติกรองบ่อ

                   2. แสลนให้ร่มเงา

                   3. พันธุ์ปลาดุก

                   4. สารปรับสภาพน้ำ

อุปกรณ์ ->

1. จอบขุด

2. เชือก

3. ตาข่าย ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.       การขุดบ่อ

            ขุดบ่อกว้างขนาด 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร  จะได้พื้นที่ 8 ตารางเมตร   ความลาดชัน 1 : 2   ยกคันบ่อขึ้นสูงจากพื้นดิน 0.25 เมตร หรือ 0.5 เมตร แล้วก่อรอบ ๆ ด้วยกระสอบทราย 

            การขุดบ่อไม่ควรขุดบ่อใกล้ต้นไม้ใหญ่  เนื่องจากรากของต้นไม้อาจทำให้ผ้าพลาสติกฉีกขาดได้  และต้องเก็บเศษกระเบื้องหรือเศษกรวดหินบริเวณผิวบ่อออกให้หมด  ก่อนปูผ้าพลาสติกควรใช้กระสอบปุ๋ยปรุผิวบ่อ

2.  การปูผ้าพลาสติก

            ให้นำผ้าพลาสติกขนาดกว้าง 3.6 เมตร ยาว 6 เมตร ปูในบ่อที่ขุดไว้  การปูผ้าพลาสติก  ควรดึงและตรึงผ้าพลาสติกทั้ง 4 มุม โดยให้ผ้าพลาสติกมีการเหลื่อมกับขอบบ่อเท่า ๆ กัน และห้ามลงไปปูผ้าพลาสติกในบ่อ  เพราะจะทำให้ผ้าพลาสติกฉีกขาดได้  จากนั้นให้ล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายเก็บชายฝั่งดิน  เพื่อกันศัตรูบางชนิด เช่น งู หนู มากินปลา  นอกจากนี้บริเวณรอบคันบ่อควรปลูกพืชผักสวนครัว

            3. การปล่อยน้ำ

เมื่อปล่อยน้ำเข้าบ่อ  น้ำจะค่อย ๆ ดันผ้าพลาสติกไปชิดผิวบ่อตั้งแต่ก้นบ่อขึ้นไป  ใส่น้ำในบ่อพลาสติกให้มีความสูงประมาณ 30 ซม. แล้วใช้ EM สาดให้ทั่วบ่อ  ใส่พืชน้ำ  เช่น ผักบุ้ง   ผักตบชวา  ลงในบ่อเพื่อให้ร่มเงาแก่ปลา  ปล่อยน้ำพักไว้ 3-7 วัน  จึงจะปล่อยปลา

ข้อพึงระวัง ->

1. การสร้างอาชีพต้องสร้างอาชีพที่เรามีความถนัด

2. การรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเมื่อมีผลิตภัณฑ์ต้องมีตลาดรองรับ

3. หากใส่น้ำประปาควรพักน้ำไว้อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ฤทธิ์คลอรีนระเหยหมดก่อนจึงค่อยนำปลามาปล่อย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา