ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ความรู้ชุมชนสัมมาชีพ (การปลูกผักกางมุ้ง,คะน้า)

โดย : นางมะลิ ชุมจีด วันที่ : 2017-05-25-11:49:56

ที่อยู่ : 188 หมู่ที่ 6 ตำบลปะเหลียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักคะน้า (Brassica oleracea) เป็นผักที่นิยมรับประทานมากในปัจจุบัน นิยมรับประทานทั้งลำต้น และใบ ด้วยลักษณะมีรสหวาน และกรอบ ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว มักใช้ประกอบอาหารจำพวกผัด และทอด เป็นส่วนใหญ่ ผักคะน้า ชาวจีนจะเรียกว่า ไก่หลันไช่ เป็นผักล้มลุก อายุประมาณ 2 ปี มีต้ำกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย แต่มักเก็บต้นมาบริโภคประมาณ 45-60 หลังการหยอดเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน และมีการระบายน้ำดี เป็นผักที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีทำให้ปลูกได้ในทุกฤดูกาล แต่จะได้ผลดีในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว เดือนตุลาคม-กุมภาพันธุ์ แต่ช่วงนี้ราคาสินค้าจำพวกพืชผักมักมีราคาต่ำ

ประโยชน์คะน้า
1. เป็นแหล่งผักอาหารที่สำคัญ และนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด
2. เป็นแหล่งอาหารเสริมแคลเซียม   

3. ช่วยบำรุง และเสริมสร้างกระดูก และฟัน
4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมในวัย  

5. ช่วยเพิ่มปริมาณสารอิเล็กโทรไลต์ของแคลเซียมในร่างกาย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธ์ุผักบุ้ง ผักคะน้า

2.ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก

3.ปุ๋ยเคมี

อุปกรณ์ ->

1.มีด

2.จอบ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกคะน้ามักปลูกในแปลงที่ยกร่องสูงเหมือนกับการปลูกผักชนิดอื่นๆ
– ระดับแปลงควรสูงอย่างน้อย 20-30 ซม. กว้าง 2-3 เมตร ขนาดความยาวตามความเหมาะสม
– ทำการกำจัดวัชพืช และหว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ 1000 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่
– ทำการไถกลบแปลง และตากแดดประมาณ 5-10 วัน
– ทำการไถพรวนแปลงอีกครั้งก่อนปลูก และตากดินประมาณ 3-5 วัน

วิธีการปลูก
– การปลูกจะใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 20-30 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 3-5 ใบ ต้นสูงประมาณ 10 ซม.
– การย้ายกล้าปลูกควรมีดินติดรากหรือหากไม่มีให้แช่รากในน้ำระหว่างปลูก และที่สำคัญควรปลูกทันทีเมื่อถอนต้นกล้า
– ระยะปลูกระหว่างต้น และแถวประมาณ 20×20 เซนติเมตร

การดูแล
การให้น้ำ จะให้น้ำตั่งแต่หลังการปลูกทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ในช่วงระยะเริ่มแรก และวันละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 10-15 วัน การให้น้ำสามารถให้ด้วยวิธีธรรมดาด้วยการรดมือหรือใช้ระบบสปริงเกอร์

การใส่ปุ๋ย จะเริ่มใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกต้นกล้าประมาณ 10-15 วัน ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมด้วยกับปุ๋ยคอกประมาณ 300 กก./ไร่ สำหรับปุ๋ยเคมีอาจให้ด้วยวิธีการหว่านหรือการละลายน้ำแล้วฉีดพ่น

การกำจัดวัชพืช ควรมีการตรวจสอบแปลงคะน้า และกำจัดวัชพืชเป็นประจำทุกเดือนหลังการปลูก

การเก็บผลผลิต
คะน้าสามารถเก็บต้นได้หลังจากหว่านเมล็ด 40-60 วัน ด้วยการใช้มีดตัดชิดโคนต้น ไม่ควรใช้มือเด็ดถอน พร้อมเด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก 1-2 ใบ และนำมาล้างทำความสะอาด ทั้งนี้ อาจต้องเก็บผักก่อนระยะกำหนดหากมีอาการเกิดโรคในระยะที่คะน้าโตเต็มที่

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา