ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ความรู้ชุมชนสัมมาชีพ (การต่อเรือ)

โดย : นายเอ็ม ขันนุ้ย วันที่ : 2017-05-24-11:40:14

ที่อยู่ : 57/3.... หมู่ที่....7.... ตำบล...ลิพัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านทางสาย หมู่ที่ 7 เป็นชุมชนที่อยู่ติดทะเล มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ จึงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คน ในตำบลลิพังและตำบลใกล้เคียงมาตั้งแต่อดีต และในชุมชนยังเต็มไปด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ  ชาวชุมชนยังมีการใช้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายในการประกอบอาชีพโดยใช้ภูมิปัญญาในการจัดการทรัพย์ในดิน สินในน้ำ เพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัวแบบพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้เนื้อแข็งเช่น  ไม้แสมสาร  ไม่ประดู่  ไม้ตะเคียน 

2.สี

3.ตะปู

4.น้ำมันยาง

5.ปูนแดง

 

 

 

อุปกรณ์ ->

1.เลื่อย

2.ฆ้อน

3.สิ่ว

4.สว่านไฟฟ้า

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนกระบวนการผลิต / วิธีทำ  เตรียมหาไม้ตามชนิดที่ต้องการใช้งาน  และเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการต่อเรือทุกชนิด  พอได้พร้อมตามเนื้องานแล้วจึงดำเนินขั้นตอนการต่อเรือ 
    ๑.  วางกระดูกงู  เป็นขั้นตอนแรกของการต่อเรือ  กระดูกงูเปรียบได้กับสันหลังของคนจึงต้องวางไม้กระดูกงูที่ดัดโค้งไปตามรูปท้องเรือให้โค้งกับน้ำ  (ตามเครื่องวัดระดับด้วยปรอทและขึงเชือกให้ตรง)  ในการวางกระดูกงูที่ต้องทำบวงสรวง  “แม่ย่านาง”  ด้วยผ้าแดง  ผ้าขาว  และเงิน  ๙  บาท  พร้อมดอกไม้ธูปเทียนหลังวางกระดูกงูเสร็จ
    ๒.  ตั้งโขนเรือหรือทวนหัว  โขนคือไม้ที่เสริมหัวเรือและท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้น  (เรียกว่าแม่ย่านาง)  โขนจะต่อมาจากกระดูกงูเรือ
    ๓.  ตั้งทวนท้ายหรือหลักทรัพย์  เป็นขั้นตอนการต่อตะเกียบยื่นออกไปให้ได้รูปทรงทำให้เรือเป็นรูปสามเหลี่ยม
    ๔.  วางกงเป็นโครงเรือ  วางพาดไปตามความยาวของเรือเป็นหลักให้กงตั้งซึ่งจะติดกับกงยาก  กงตั้งจะโค้งไปตามลักษณะความลึกของท้องเรือ  ตั้งแต่หัวเรือขนานกันไปเรื่อย  ๆ  จนถึงท้ายเรือ
    ๕.  วางตะเข้เรือ  ทับกับกงตั้งอีกทีหนึ่งเพื่อให้เรือแข็งแรง  เสริมกระดูกงูให้แข็งแรงขึ้น
    ๖.  ขึ้นราใบที่อยู่ด้านในของเรือ  เพื่อยึดเรือให้แข็งแรงโดยการตีทับกงตลอดลำเรือจากหัวเรือถึงท้ายเรือ
    ๗.  ขึ้นกระดานเรือ  คือการวางกระดานเรือตั้งแต่ด้านล่างสุดมาถึงด้านบนตรงกาบเรือโดยไม่ใช้ตะปู  แต่ใช้ไม้ทำเป็นรูปสลักแทน  (ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น  ไม้แสมสาร  ไม่ประดู่  ไม้ตะเคียน  ฯลฯ)
    ๘.  ใส่กงดาดฟ้าหรือวางคาน  ปูกระดานดาดฟ้าเป็นลายอเนกประสงค์
๙.  ติดราโทด้านข้าง     เพื่อความแข็งแรงยิ่งขึ้นและมีกาบอ่อนในอยู่ด้านนอกของตัวเรือ
และปิดกาบอ่อนในให้ดูเรียบร้อยสวยงามด้วยการตีปิดหัวกง
    ๑๐. ทำห้องเย็นอยู่ด้านหน้าของหัวเรือใช้เก็บปลา    ต้องมีการอัดด้วยโฟมทุกด้านภายในห้องเย็น  และส่วนนี้ของตัวเรือมีเนื้อที่มากที่สุดเพราะหากตัวเรือใหญ่เท่าไรจำนวนห้องเย็นก็จะมีพื้นที่มากตาม  เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยเก็บปลาเก็บกุ้งและอื่น  ๆ  ได้เต็มที่
    ๑๑.   ทำเก๋งเรือ  เป็นการต่อโครงสร้างยกให้สูงขึ้นกว่าดาดฟ้า  เป็นห้องเล็ก  ๆ  มีหลังคากันฝนเป็นทั้งห้องบังคับเรือ  (สูงมองได้ไกล)  และเป็นที่พักผ่อนหลับนอนของลูกเรือและไต้ก๋งเรือ
    ๑๒.  วางเครื่องยนต์ไว้ชั้นล่างของตัวเรือ  บริเวณส่วนท้องเรือมีไม้สองท่อนวางขนานกันและเชื่อมกับใบทวนเรือซึ่งยื่นออกไปหลังหลักทรัพย์ท้ายเรือ
    ๑๓.  ตอกหมันด้วยการนำด้ายดิบผสมชันยาเรือ   พร้อมไปกับน้ำมันยางผสมปูนแดงเพื่ออุดรูสลักและรอยต่อระหว่างแผ่นกระดานเพื่อป้องกันน้ำรั่วเข้าไปภายในเรือ
    ๑๔.  ทาสีเรือ  เพื่อกันแดดกันฝน  กันน้ำ  กันตัวเพรียง  บริเวณท้องเรือและกระดานเรือมักนิยมทาสีเขียว  ส่วนราโทและกาบอ่อนมักจะทาสีส้มกับสีขาว

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา