ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ความรู้ชุมชนสัมมาชีพ (การทำสวนยาง)

โดย : นายวรณ์ หนูหมาด วันที่ : 2017-05-23-15:05:33

ที่อยู่ : 41/1.... หมู่ที่....1.... ตำบล...ลิพัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คนภาคใต้ประกอบอาชีพ “ ทำสวนยาง ” มานานไม่ต่ำกว่า “ครึ่งศตวรรษ” และได้สืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วอายุคน  นั่นเท่ากับเป็น “ตราประทับ” ได้ว่า อาชีพนี้มีความยั่งยืน

          ผู้ที่มีคุณูปการยิ่งต่ออาชีพสวนยาง ก็คือ พระยารัษฎานุประดิษฐ มหิศรภักดี (คอ ซิ บี้ ณ ระนอง) ผู้นำยางพารา “ต้นแรก” จากประเทศมาเลเซีย มาปลูกในประเทศไทย เมื่อปี 2442 อ.กันตัง จ.ตรัง ก่อนจะถูกนำไปขยายพันธุ์ทำเป็นสวนยางขึ้นมา และนั่นก็คือ “ปฐมบท” ของยางพาราเมืองไทย  

                พื้นที่ตำบลลิพัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา และเป็นอาชีพที่ถ่ายทอดมาจาดบรรพบุรุษ

วัตถุประสงค์ ->

วิธีปลูกยาง
            ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน วัสดุปลูกที่นิยมในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ ต้นตอตายาง ต้นติดตาในแปลงและต้นยางชำถุง วัสดุปลูกแต่ละชนิด มีวิธีการปลูก ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันดังนี้

         ต้นตอตายาง การปลูกด้วยต้นตอตายาง ให้ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเหล็กแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาที่ปลูกเล็กน้อยแทงลงบนหลุมปลูก ลึกขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้วต้นตอตา เสียบต้นตอตาร่องที่แทงไว้ โดยหันแผ่นตาอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดถูกแผ่นตาโดยตรงเป็นผลให้แผ่นตาเหี่ยวเฉาแห้งตายได้ ใช้เหล็กหรือไม้อัดต้นตอตาให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าให้มีโพรงอากาศบริเวณราก เพราะจะทำให้รากเน่า กลบดินให้ระดับดินอยู่ตรงรอยต่อของรากกับลำต้น หลักจากปลูกควรพรวนดินบริเวณโคนต้นตอตาให้สูงเพื่อมิให้เป็นแอ่งเมื่อน้ำท่วมขังทำให้โคนต้นตอตาเน่า ใช้เศษฟางหรือเศษหญ้าหรือวัสดุหาง่ายคลุมโคนต้นตอตายาง หากฝนไม่ตกหลังการปลูกควรให้น้ำต้นยาง ดังนั้น การปลูกด้วยต้นตอตายางจึงเหมาะสมปลูกในแหล่งปลูกยางเดิมที่มีปริมาณน้ำฝนและมีจำนวนวันฝนตกมากกว่าในเขตแห้งแล้ง

             ต้นติดตาในแปลง ต้นยางที่ปลูกด้วยวิธีนี้จะมีระบบรากแข็งแรง มีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอไม่ต้องขุดถอนย้อยปลูก กรีดได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้ต้นตอตา มีการปลูกสร้างสวนยางด้วยวิธีนี้จะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง ความสมบูรณ์ของกิ่งตายางและความสามารถ ของคนติดตายาง มีวิธีการ ดังนี้
            1. การเตรียมพื้นที่ ไถพลิกดิน เก็บวัชพืชในพื้นที่ออกให้หมด ไถพรวนเพื่อให้ดินร่วน ปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนดไว้
            2. ขุดหลุมปลูก ขนาด กว้างxยาวx ลึก 50x50x50 เซนติเมตร ขุดแยกดินบนและดินล่างออกจากกัน ตากแดดไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อดินแห้ง ย่อยดินบนให้ร่วน กวาดใส่ครึ่งหนึ่งของหลุม ดินล่างเมื่อย่อยดีแล้วผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุมใส่ไว้ด้านบน
            3. ปลูกเมล็ดยาง นำเมล็ดสมปลูกในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 3 เมล็ด ระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 เซนติเมตร ใช้ไม้ปลายแหลมสักดินให้เป็นหลุมลึก 3 เซนติเมตร วางเมล็ดลงในหลุมที่สักไว้ ให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง หรือถ้าปลูกด้วยเมล็ดงอก ให้วางด้านรากงอกของเมล็ดคว่ำลง แล้วกลบดินให้มิดเมล็ด
            4. ติดตายาง เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้ายางมีอายุประมาณ 6-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตรที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร ทำการติดตาด้วยตายางพันธุ์ดีจากกิ่งตาเขียวหลังจากติดตาแล้วประมาณ 21 วัน ตรวจดูว่าต้นไหนติดตาสำเร็จ หากสำเร็จมากกว่า 2 ต้นต่อหลุม ให้พิจารณาตัดยอดต้นที่สมบูรณ์ที่สุดในระดับความสูง 10-15 เซนติเมตรเอียงเป็นมุม 45 องศาลงไปทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา หลังจากนั้น 1 เดือน หากตาของต้นที่ตัดยอดยังไม่แตกก็พิจารณาตัดยอดต้นที่เหลือต่อไปทีละต้น ถ้าตาของต้นที่ตัดแตกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นตอตอทั้งหมดออก คงเหลือต้นที่ตาแตกเจริญเติบโตต่อไป

             ต้นยางชำถุง การปลูกด้วยต้นยางชำถุงเกษตรกรจะต้องระมัดระวังเรื่องการขนย้าย เพราะหากดินในถุงแตกจะทำให้ต้นยางตายได้ ควรเลือกยางชำถุงที่มีขนาด 1-2 ฉัตรและฉัตรจะต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์ ไม่แสดงอาการเป็นโรค ทำการตัดแต่งรากที่ทะลุถุงชำออก เก็บต้นยางชำถุงไว้ในโรงเรือนที่มีร่มเงารำไรประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้ต้นยางปรับตัวและรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอจึงย้ายปลูก ควรเตรียมหลุมปลูกให้เรียบร้อยก่อนการปลูก มีวิธีปลูก ดังนี้
            1. ใช้มีดคมๆ เฉือนก้นถุงออกประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุม หันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตกเพื่อป้องกันอาการไหม้จากแสงแดดบริเวณโคนต้น แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดจากกัน แต่ยังไม่ดึงถุงออกกลบดินจนเกือบเต็มหลุมให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่เหนือระดับผิวดินเล็กน้อยแล้วดึงถุงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินในถุงชำแยก กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดินให้แน่นโดยให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าดินปากหลุมเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุมปลูก
            2. ใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยางรัศมี 50-80 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้นยางประมาณ 1 ฝ่ามือ
            3. ควรปลูกซ่อมด้วยต้นยางชำถุงก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรปลูกซ่อมเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีแล้ว แต่ถ้าจะปลูกซ่อมควรใช้ต้นยางที่มีอายุใกล้เคียงกัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์ยาง

2.ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

1. มีด

2. จอบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีปลูกยาง
            ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน วัสดุปลูกที่นิยมในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ ต้นตอตายาง ต้นติดตาในแปลงและต้นยางชำถุง วัสดุปลูกแต่ละชนิด มีวิธีการปลูก ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันดังนี้

         ต้นตอตายาง การปลูกด้วยต้นตอตายาง ให้ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเหล็กแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาที่ปลูกเล็กน้อยแทงลงบนหลุมปลูก ลึกขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้วต้นตอตา เสียบต้นตอตาร่องที่แทงไว้ โดยหันแผ่นตาอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดถูกแผ่นตาโดยตรงเป็นผลให้แผ่นตาเหี่ยวเฉาแห้งตายได้ ใช้เหล็กหรือไม้อัดต้นตอตาให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าให้มีโพรงอากาศบริเวณราก เพราะจะทำให้รากเน่า กลบดินให้ระดับดินอยู่ตรงรอยต่อของรากกับลำต้น หลักจากปลูกควรพรวนดินบริเวณโคนต้นตอตาให้สูงเพื่อมิให้เป็นแอ่งเมื่อน้ำท่วมขังทำให้โคนต้นตอตาเน่า ใช้เศษฟางหรือเศษหญ้าหรือวัสดุหาง่ายคลุมโคนต้นตอตายาง หากฝนไม่ตกหลังการปลูกควรให้น้ำต้นยาง ดังนั้น การปลูกด้วยต้นตอตายางจึงเหมาะสมปลูกในแหล่งปลูกยางเดิมที่มีปริมาณน้ำฝนและมีจำนวนวันฝนตกมากกว่าในเขตแห้งแล้ง

             ต้นติดตาในแปลง ต้นยางที่ปลูกด้วยวิธีนี้จะมีระบบรากแข็งแรง มีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอไม่ต้องขุดถอนย้อยปลูก กรีดได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้ต้นตอตา มีการปลูกสร้างสวนยางด้วยวิธีนี้จะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง ความสมบูรณ์ของกิ่งตายางและความสามารถ ของคนติดตายาง มีวิธีการ ดังนี้
            1. การเตรียมพื้นที่ ไถพลิกดิน เก็บวัชพืชในพื้นที่ออกให้หมด ไถพรวนเพื่อให้ดินร่วน ปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนดไว้
            2. ขุดหลุมปลูก ขนาด กว้างxยาวx ลึก 50x50x50 เซนติเมตร ขุดแยกดินบนและดินล่างออกจากกัน ตากแดดไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อดินแห้ง ย่อยดินบนให้ร่วน กวาดใส่ครึ่งหนึ่งของหลุม ดินล่างเมื่อย่อยดีแล้วผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุมใส่ไว้ด้านบน
            3. ปลูกเมล็ดยาง นำเมล็ดสมปลูกในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 3 เมล็ด ระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 เซนติเมตร ใช้ไม้ปลายแหลมสักดินให้เป็นหลุมลึก 3 เซนติเมตร วางเมล็ดลงในหลุมที่สักไว้ ให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง หรือถ้าปลูกด้วยเมล็ดงอก ให้วางด้านรากงอกของเมล็ดคว่ำลง แล้วกลบดินให้มิดเมล็ด
            4. ติดตายาง เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้ายางมีอายุประมาณ 6-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตรที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร ทำการติดตาด้วยตายางพันธุ์ดีจากกิ่งตาเขียวหลังจากติดตาแล้วประมาณ 21 วัน ตรวจดูว่าต้นไหนติดตาสำเร็จ หากสำเร็จมากกว่า 2 ต้นต่อหลุม ให้พิจารณาตัดยอดต้นที่สมบูรณ์ที่สุดในระดับความสูง 10-15 เซนติเมตรเอียงเป็นมุม 45 องศาลงไปทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา หลังจากนั้น 1 เดือน หากตาของต้นที่ตัดยอดยังไม่แตกก็พิจารณาตัดยอดต้นที่เหลือต่อไปทีละต้น ถ้าตาของต้นที่ตัดแตกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นตอตอทั้งหมดออก คงเหลือต้นที่ตาแตกเจริญเติบโตต่อไป

             ต้นยางชำถุง การปลูกด้วยต้นยางชำถุงเกษตรกรจะต้องระมัดระวังเรื่องการขนย้าย เพราะหากดินในถุงแตกจะทำให้ต้นยางตายได้ ควรเลือกยางชำถุงที่มีขนาด 1-2 ฉัตรและฉัตรจะต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์ ไม่แสดงอาการเป็นโรค ทำการตัดแต่งรากที่ทะลุถุงชำออก เก็บต้นยางชำถุงไว้ในโรงเรือนที่มีร่มเงารำไรประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้ต้นยางปรับตัวและรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอจึงย้ายปลูก ควรเตรียมหลุมปลูกให้เรียบร้อยก่อนการปลูก มีวิธีปลูก ดังนี้
            1. ใช้มีดคมๆ เฉือนก้นถุงออกประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุม หันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตกเพื่อป้องกันอาการไหม้จากแสงแดดบริเวณโคนต้น แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดจากกัน แต่ยังไม่ดึงถุงออกกลบดินจนเกือบเต็มหลุมให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่เหนือระดับผิวดินเล็กน้อยแล้วดึงถุงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินในถุงชำแยก กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดินให้แน่นโดยให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าดินปากหลุมเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุมปลูก
            2. ใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยางรัศมี 50-80 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้นยางประมาณ 1 ฝ่ามือ
            3. ควรปลูกซ่อมด้วยต้นยางชำถุงก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรปลูกซ่อมเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีแล้ว แต่ถ้าจะปลูกซ่อมควรใช้ต้นยางที่มีอายุใกล้เคียงกัน

ข้อพึงระวัง ->

ควรกำจัดวัชพืชให้ต้นยางพาราป้องกันการแย่งอาหารและต้นวัชพืชบางชนิดที่เป็นเถาวัลย์อาจจะพันต้นยางทำให้เกิดความเสียหาย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา