เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ียงจิ้งหรีด

โดย : นางปุณญาพัฒน์ ทองผล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-28-11:49:49

ที่อยู่ : 133 ม.10 ต.กุดดินจี่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ การทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกพืชผักสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์    ซึ่งเมื่อว่างเว้นจากการทำนา จึงมีแนวความคิดที่เลี้ยงจิ้งหรีดประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายให้ให้แก่ครัวเรือน จึงได้มีแนวคิดในการเลี้ยงจิ้งหรีดไว้สำหรับกินเป็นอาหาร

จิ้งหรีด เป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะจิ้งหรีดลายทองแดง (สะดิ้ง) มีขนาด 1.85 x 1 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลปนเหลืองชอบกระโดด กินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหารโดยการทอด คั่ว แกง ห่อหมก และยำ จิ้งหรีดมีสารอาหารโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการสารอาหารได้ เลี้ยงง่าย ขยายพันธ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ไว้บริโภคและจำหน่ายเพิ่มรายได้ เนื่องจากเลี้ยงไม่มาก สามารถใช้เวลาว่างจากการเพาะปลูกมาเลี้ยงจิ้งหรีดได้ และใช้เวลาในการเลี้ยงไม่นานประมาณ

วัตถุประสงค์ ->

กรมการพัฒนาชุมชน อบรมให้ความรู้วิทยากรปราชญ์ชุมชนคือ ครู ใหญ่ของหมู่บ้าน และมีการคัดเลือกเพื่อขยายผลทีมวิทยาปราชญ์ (ครูน้อย อีก ๔ คน) โดยให้ทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ ๑ คนรับผิดชอบ ครัวเรือนเป้าหมาย ๔ ครัวเรือน ซึ่งจะมีครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพรวมเป็น ๒๐ ครัวเรือน หลังจากคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพครบ ๒๐ ครัวเรือนมีการประชุมคัดเลือกเพื่อกำหนดโครงการสาธิตและฝึกปฎิบัติอาชีพแก่ครัวเรือน โดยได้การสนับสนุนวัสดุในการสาธิตหมู่บ้านสัมมาชีพละ ๑๖,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพบ้าน ดอนเต็ง เสนอโครงการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด  และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันของสมาชิกครัวเรือนสัมมาชีพ

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นสัตว์กินพืชที่เลี้ยงง่าย จึงเหมาะแก่การเลี้ยงแบบออแกนิค ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่อาจจะมีปัญหาในส่วนของการหาอาหารจำพวกพืชที่ปลอดสารพิษยาก ดังนั้นจึงได้นำอาหารไก่มาทดแทน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยจะใช้อาหารไก่ที่มีโปรตีนร้อยละ 14 และ 21 ซึ่งจะแบ่งการให้ตามช่วงอายุของจิ้งหรีด

§  อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 14 จะให้แก่จิ้งหรีดที่เกิดใหม่จนถึงอายุ 20 วัน

§  อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 21 จะให้แก่จิ้งหรีดหลังจาก 20 วันจนถึงวันเก็บเกี่ยว ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 45 วัน

ส่วนน้ำสะอาดสามารถให้ได้ตลอดเวลา โดยเลือกเปลี่ยนเมื่อน้ำมีความสกปรก

การเก็บเกี่ยว

โดยปกติแล้ว จะเก็บตัวจิ้งหรีดมาขายนั้น จะทำหลังจากการที่ตัวจิ้งหรีดได้ทำการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น เพื่อให้ได้ไข่ไว้ในการฟักเป็นตัวต่อไป ซึ่งวิธีการเก็บก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใส่ภาชนะทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น กล่องพลาสติก และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ก็เป็นการทำความสะอาดห้องเลี้ยง เพื่อเตรียมตัวเลี้ยงจิ้งหรีดในรุ่นต่อไป

การวางไข่

ทันทีที่จิ้งหรีดได้รับการผสม ควรเตรียมภาชนะวางไข่ที่มีส่วนผสมของแกลบและทราย ไปวางไว้ในบ่อตัวเมียที่สามารถวางไข่(ภายใน 24 ชั่วโมง) ระยะเวลาวางไข่เป็น 7-14 วัน จากนั้นภาชนะวางไข่จะถูกย้ายไปยังบ่ออื่นที่เตรียมสำหรับการบ่มฟัก การฟักมักจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 7-10 วัน ในอุณหภูมิคงที่ วงจรการสืบพันธุ์นี้สามารถทำซ้ำได้ 1-3 ครั้งในแต่ละรุ่นการฟักจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28-30 องศาเซลเซียส

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ข้อควรระวังในการเลีั้ยงจิ้งหรีด

-  ความเสี่ยงของการเพิ่มราคาในอุตสาหกรรมอาหารไก่

-  โรค ในปัจจุบันมีความเสี่ยงเป็นโรคเนื่องมาจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่น โรคที่จะมาจากอาหารธรรมชาติ หรือสัตว์พาหะ

  ความเสี่ยงจากการใช้พันธุ์ที่ผลิตในฟาร์ม หลังจากการผลิตสามรุ่นไปแล้ว แก้ไขโดยการใช้พันธุ์และไข่นอกหมู่บ้าน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา