เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาหมอเทศ

โดย : นายทองล้วน จันทะชา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-03-15:18:46

ที่อยู่ : 146 หมู่ที่ 8 ตำบลกุดดินจี่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาหมอ เป็นปลาที่มีรสมัน เนื้อแน่น นุ่ม ก้างน้อย สามารถประกอบอาหารหรือแปรรูปได้หลากหลาย ทั้งต้มยำ แกง ย่าง ทอด ทำปลาร้า ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง และอื่นๆ ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาด และนิยมบริโภคกันมาก ทั้งในประเทศ และการส่งออก

ปัจจุบัน ปลาหมอจัดเป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และบริโภคกันมากในทุกภาคของไทย เนื่องจากให้เนื้อแน่น เนื้อมีรสมันอร่อยต่างจากปลาชนิดอื่น มีก้างน้อย มักพบปิ้งย่างเกลือขายตามตลาด ร้านอาหาร ริมถนน โดยเฉพาะถนนสายอีสาน และภาคเหนือ นอกจากนั้น ยังนิยมประกอบอาหารหลากหลายเมนู เช่น ต้มยำ แกง และทอด

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงในบ่อดิน
เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่
สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา
อาหาร และการให้อาหาร
อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 การเลือกสถานที่เลี้ยง

2 การสุขาภิบาล

อุปกรณ์ ->

 โรคปลาหมอไทยที่พบบ่อย ดังนี้
1. โรคตกเลือดซอกเกล็ด
2. โรคเกล็ดพอง

3.โรคแผลตามลำตัว
4.โรคจุดขาว
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา