เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

โดย : นายสมยศ สูตะพรม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-02-16:13:54

ที่อยู่ : 277/2 ม.6

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลานิลเป็นปลาน้ำจืด (อยู่ในตระกูล Cichlidae) กินพืชเป็นอาหาร ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ตามแม่น้ำ หนอง บึง อาศัยได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย เพราะเป็นปลาที่มีความอดทน ปรับตัวกับธรรมชาติได้อย่างดี เหมาะกับการนำไปเลี้ยงได้ทุกภูมิภาค

วัตถุประสงค์ ->

ปลานิลตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกันมาก ตัวผู้อวัยวะเพศจะมีลักษณะเรียวยาว และจะมีสีเข้มตรงใต้คางและตามลำตัว ส่วนตัวเมียจะมีอวัยเพศเป็นรูและกลม และในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีบริเวณลำตัวและใต้คางเข้มน้อยกว่าตัวผู้

ปลานิลที่มีอายุประมาณ 4 เดือนก็สามารถที่จะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้ สังเกตได้จากพ่อพันธุ์จะแยกตัวออกจากฝูง เพื่อสร้างรังบริเวณขอบบ่อตื้น ๆ ประมาณครึ่งเมตร

โดยปลานิลตัวผู้จะใช้หัวและปากขุดหลุมบริเวณดังกล่าว จนรังมีลักษณะเป็นหลุม และแผ่ครีบหลังอ้าปากกว้างเชิญชวนให้ปลานิลตัวเมียว่ายเข้ามาผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์ปลานิล

ปลานิลจะผสมพันธุ์ภายนอก โดยปลานิลตัวเมียจะวางไข่ในรังทีละ 10-20 ฟอง พร้อมกับที่ปลานิลตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ เมื่อไข่และน้ำเชื้อผสมกันแล้ว ปลานิลตัวเมียก็จะอมไข่ไว้ในปากและออกจากรังไปยังก้นบ่อ

ประมาณ 4-5 วัน ไข่จะฟักเป็นตัว แต่ก็จะยังอยู่ในปากแม่ปลา โดยมีถุงอาหารติดอยู่ที่ท้องของลูกปลา

ในระยะ 3-4 วันหลังฟักเป็นตัวลูกปลาจะออกจากปากแม่ปลาและกินไรน้ำและพืชน้ำ โดยจะยังมีแม่ปลาคอยระวังภัยอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา และลูกปลาจะหลบในปากแม่ปลาเมื่อมีภัยเข้ามา

เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะเลิกหลบซ่อนในปากแม่ปลา และจะหาอาหารกินเองได้และว่ายรวมกันเป็นฝูงเมื่อายุได้ประมาณ 3 สัปดาห์

แม่ปลานิลจะสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 50-600 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา และใน 1 ปี จะสามารถวางไข่ได้ 3-4 ครั้ง

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลานิล

บ่อสำหรับเลี้ยงปลานิล สามารถใช้บ่อดินรูปสี่เหลี่ยมพื้นที่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1 เมตร และมีส่วนชานบ่อหรือบริเวณตื้น ๆ เพื่อให้ปลาทำรังในช่วงผสมพันธุ์

ในกรณีที่ขุดบ่อใหม่ดินมักเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยเพื่อปรับให้ดินมีความเป็นกลาง โดยใช้ปูนขาว 1 กิโลกรัม ต่อ 10 ตารางเมตร

หรือกรณีที่เป็นบ่อเก่าต้องกำจัดวัชพืชออก เพราะอาจจะเป็นที่อยู่ของศัตรู และเพื่อให้น้ำได้รับออกซิเจนเพียงพอ และถ้าบ่อเคยเลี้ยงปลาหรือสัตว์กินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาโด ปลาบู่ เต่า งู ควรจะกำจัดออกให้หมด โดยสูบน้ำจับสัตว์ที่เป็นศัตรูออกให้หมด และปล่อยให้บ่อแห้งจึงค่อยสูบน้ำกลับคืน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

ะควรจะปล่อยปลาลงบ่อในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น เพราะน้ำในบ่อจะไม่ร้อนจนเกินไป  ก่อนปล่อยก็ให้เอาภาชนะจุ่มลงในบ่อเพื่อให้อุณภูมิน้ำทั้งสองเท่ากัน ป้องกันปลาช็อคจากอุณหภูมิน้ำต่างกันเกินไป เมื่ออุณภูมิน้ำเท่ากันแล้วก็ค่อย ๆ จุ่มภาชนะลงในบ่อ และให้ปลาว่ายออกจากภาชนะไปยังบ่อช้า ๆ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา