เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การจัดการความรู้สัมมาชีพชุมชนในเว็บไซต์

โดย : นางสาวกฤษณา สนธิมูล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-04-17:00:38

ที่อยู่ : 109/2หมู่ 8 ตำบลเมืองใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน สั่งการให้จังหวัดดำเนินการจัดทำทะเบียนปราชญ์ชุมชน ตามโครงการสัมมาชีพชุมชน พร้อมทั้งให้จัดทำบันทึกความรู้ความเชี่ยวชาญของปราชญ์เป็นฐานข้อมูลและ  ด้วยระยะเวลาที่กรมฯ เร่งรัด   ความไม่ชัดเจนในแนวทางการดำเนินงาน และจำนวนพื้นที่ในการดำเนินของอำเภอศรีบุญเรืองที่งบประมาณลงเต็มพื้นที่ทั้งหมด 158 หมู่บ้าน ซึ่งปรากกฎว่าปราชญ์ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง องค์ความรู้ที่จัดเก็บก็ไม่ชัดเจน ในการดำเนินงานในห้วงระยะที่ผ่านมาจึงเกิดปัญหาในการปฏิบัติงานของพัฒนากรในพื้นที่เป็นอย่างมาก

          ในฐานะพัฒนากรในพื้นที่และเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสัมมาชีพชุมชนและงานการพัสดุของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออยากนำแนวคิด ปัญหา และแนวทางปฏิบัติที่ดำเนินการในพื้นที่เพื่อนเป็นอีกหนึ่งวิธีปฏิบัติที่จะทำให้ดำเนินการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด  เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีวิทยากรสัมมาชีพซึ่งมาจากปราชญ์ในชุมชนนั้น เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

1. สำรวจและค้นหาปราชญ์ชุมชน ผู้ที่ความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านของหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 158 หมู่บ้าน จัดทำทะเบียนข้อมูลและรวบรวมส่งจังหวัดเพื่อ ส่งรายชื่อปราชญ์ฯเข้าร่วมอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี

                   2. ศึกษาและทำความเข้าใจในแนวทางการดำเนินกิจกรรม/โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ด้วยกรอบการดำเนินงานและระยะเวลาที่จะขับเคลื่อนไม่มีความสอดคล้องกันเท่าไหร่ อาทิเช่น ระยะเวลาในเข้ารับการฝึกอบรมของปราชญ์ที่ต้องเข้าอบรมที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนฯ เป็นห่วงระยะเวลาที่อยู่ท้าย ๆไตรมาสที่ 1 เจ้าหน้าที่อำเภอและจังหวัดได้มีการประชุมและเสนอให้จังหวัดขอเปลี่ยนแปลงการอบรมให้เร็วขึ้น และมีการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนและการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุสนับสนุนอาชีพร่วมกันเนื่องจากจำนวนเงินจัดซื้ออยู่ในงบประมาณที่มาก

                   3. กำหนดแผนงานการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชองอำเภอให้ชัดเจน

3.1 เมื่อปราชญ์กลับจากอบรมที่ศูนย์ต้องดำเนินการขั้นตอน ไหนก่อนหลัง วางแผนจัดประชุมทีปราชญ์ในระดับจังหวัด ซึ่งในวันนั้นได้มีการเตรียม ข้อมูลความต้องการฝึกอาชีพที่คนในหมู่บ้านต้องการฝึกอาชีพอาชีพมาจัดทำเป็นทะเบียนอาชีพให้ผู้นำหมู่บ้านมีแนวทางในการจัดประชาคมอาชีพที่ครัวเรือนต้องการฝึก 

                   3..2 ต่อจากนั้นเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 5 คน เพื่อรับฟังแนวทางจากปราชญ์ชุมชนจำนวน 2 คน และให้ วิทยากรในหมูบ้านทั้ง 5 คน เข้าไปค้นหาครัวเรือนสัมมาชีพของหมู่บ้าน 20 ครัวเรือน โดยแบ่งความรับผิดชอบคนละ 4 ครัวเรือน เมื่อได้ครบจำนวน 20 ครัวเรือน ให้ประชาคมอาชีพที่คนในชุมชนต้องการฝึกอาชีพ และรวบรวมข้อมูลและหลักฐานทางการเงินส่งที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตามระยะเวลาที่กำหนด

                   4. จัดประชุมทีมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานของสัมมาชีพชุมชนและแบ่งงานให้ทีมสนับสนุนทราบแนวทาง วันเวลา สถานที่ ที่ต้องดำเนินการติดตามการดำเนินของหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนที่ได้รับประมาณของอำเภอจำนวน 158 หมู่บ้าน    

5. เมื่อได้รับข้อมูลอาชีพที่ครัวเรือน ต้องการฝึกของทุกหมู่บ้าน ต้องมาดำเนินการรวบรวมข้อมูลรายการวัสดุ และจัดหมวดหมู่ของวัสดุในการฝึกอาชีพ เพื่อดำเนินการตามระเบียบพัสดุอย่างเคร่งครัดและให้ผู้รับขายส่งมอบงานได้ทันตามห้วงระยะเวลาที่ราชการกำหนด

                   6. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในอำเภอเพื่อกำหนดวันเวลาที่ประชุมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ซึ่งต้องดำเนินการจำนวน 5 วันตามแนวทางของสัมมาชีพและให้สอดคล้อง และถูกต้องตามวันเวลาที่มีส่งมอบวัสดุสนับสนุนอาชีพให้ครัวเรือน และเน้นย้ำเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้คำแนะนำกับปราชญ์เกี่ยวกับหลักฐานทางการเงินที่ปราชญ์ต้องเข้าใจอย่างชัดเจนและปฏิบัติให้ถูกต้อง

                   7.ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนากลุ่มอาชีพ เพื่อสู่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

                   8.นำข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้จัดทำ ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนสำนักงานจังหวัดหนองบัวลำภู

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการวางแผน แก้ไขปัญหาร่วมกันของทุกองค์กร เวทีประชาคมจะเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันอย่างเป็นเจ้าของ เกิดความผูกพันและมีความสำนึกรับผิดชอบในการดูแลและอนุรักษ์ชุมชนด้วยตนเองสัมมาชีพชุมชนเป็นแนวทางการดำเนินงานซึ่ง ให้คนในชุมชนสอนกันเองในชุมชน ช่วยเหลือกันในชุมชน นอกจากนี้ชุมชนมีการแบ่งปันเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการรวมกลุ่ม แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน สิ่งที่คนในชุมชนได้รับ คือ
1) รู้จักใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก อย่างรอบคอบ ระมัด ระวัง
2) รู้จักการนำทฤษฎีหรือการเกษตรผสมผสาน แนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน มาเป็นแนวทางปฏิบัติ
3) เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
4) เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา