เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการจักสานเปลไม้ไผ่

โดย : นายทองใบ ยอดคำมี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-05-09:53:30

ที่อยู่ : 128 หมู่ 3 ตำบลหนองบัวใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสานที่เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชน และบรรพบุรุษประกอบกับชุมชนมีไผ่สีสุข ที่มีความเชื่อกันว่า เป็นไม้มงคล ปลูกแล้วดีสมชื่อ ชาวบ้านจึงมักนำมาปลูกไว้ และไผ่รวกซึ่งพบได้ทั่วไปหากนำมาจักสานจะมีความสวยงามคงทน จึงได้นำมาใช้ในการทำเปลเพื่อใช้พักผ่อน และยังใช้เวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนาให้เกิดประโยชน์ ต่อมาก็มีเพื่อนบ้านมาเห็นเปลที่ทำขึ้น เกิดความสนใจ จึงได้มีการสั่งทำจนกลายเป็นธุรกิจค้าขาย มีชื่อเสียงเล่าต่อถึงความสวยงามและความคงทนของเปลไม้ไผ่ สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี นายทองใบ  ยอดคำมี ได้เห็นความสำคัญจึงได้สืบสานการทำเปลไม้ไผ่สืบต่อมา

วัตถุประสงค์ ->

เปลไม้ไผ่นั้น มีขั้นตอนการทำโดย เลือกไม้ไผ่ ที่มีลักษณะลำปล้องยาว มีปล้องใหญ่ ใช้ลำละ 8 หรือ 9 ปล้อง (ยาวประมาณ 2.50 เมตร) ด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นเลขดี จากนั้นนำมาผ่าให้ได้ 8-9 ซี่ โดยผ่าไผ่กลางลำ เว้นปล้องหัวกับปล้องท้ายไว้ หรือ ผ่าตั้งแต่ปล้องที่ 2 ถึง ปล้องที่ 8 แล้วก็จะได้ส่วนที่นำมาเป็นแกนของเปล คลี่ออกเป็นลักษณะของท้องเปล ต่อมานำไผ่รวกมาจักและเหลา เพื่อสานขัดกับแกนเปลข้างต้น ให้ได้รูปทรงออกมาเป็นเปลที่สวยงาม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เป็นงานหัตถกรรม ที่มีขั้นตอนการทำที่ประณีต ใช้ความอดทนและฝีมือของผู้สาน และเป็นผลิตภัณฑ์ทีคงทน ใช้ได้นาน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา