เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

สานเปล

โดย : นางศรีวิไล บุญเมฆ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-28-14:20:40

ที่อยู่ : 1หมู่ 9

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมมีอาชีพทำนา มีเวลาว่างหลังฤดูทำนา แสวงหาความรู้ ไปศึกษาดูงานเห็นว่าการสานเปลเป็นอาชีพที่สมารถทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากจีงได้เริ่มสานเปลมาจนทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ ->

1. นำเส้นด้ายมาแยกเป็นสี ๆ
2. นำเส้นด้ายที่แยกไว้เป็นสี ๆ แยกม้วนไว้เป็นแต่ละสี ๆ ตามความหนาของผ้า 
3. เตรียมไม้ยาวประมาณ 1 เมตร มาตีตะปู โดยมีความกว้างของตะปู 2 ศอก ห่างกัน 30ฟุต
4. นำเส้นด้ายที่เตรียมไว้สำหรับทำหูเปลมาพันกับตะปูทั้งหมด 7 รอบ
5. นำเส้นด้ายมาสานเป็นบ่วงไขว้กันลักษณะคล้ายเปียให้มีความยาว 10 นิ้ว จึงนำปลายทั้งสองข้าง ผูกเข้ากันให้เป็นห่วงวงรี จึงได้หูเปลจำนวน 14 หู โดยทำตอนที่ 5 อีก 1 รอบ จึงจะได้หูเปลสองข้าง
6. นำหูเปลที่เตรียมไว้ทำตามขั้นตอนที่ 5 มาสานขึ้นต้นด้วยเศษวัสดุที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 2 โดยเก็บหูไว้ 2 อันจะเหลือหู 12 อัน เริ่มถักหูแรกโดยขึ้นต้นสอดผ้าลักษณะเงื่อนพิรอด ถักต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 หู (ครบ 1 แถว)
7. นำเศษด้ายอีกหนึ่งสี ที่เตรียมไว้โดยผูกกับหูแรก แถวที่ 1 แล้วนำมาถักเป็นเงื่อนพิรอดกับแถวที่ 1 ถักไปเรื่อย ๆ จนครบ 12 ช่อง จะได้แถวที่ 2
8. ทำตามวิธีขั้นตอนที่ 6 และขั้นตอนที่ 7 สลับกันไปมาทั้งสองสีเรื่อย ๆ จนครบ 14 แถว
9. นำหูทีเหลืออีกข้างมาผูกกับต้นเสาเพื่อทำการต่อเปลที่ถักเสร็จแล้ว 14 แถว นำปลายวัสดุเศษด้ายจากแถวที่ 14 มาถักต่อหูที่เตรียมไว้โดยถักสลับฟันปลากันไปมาเหมือนถักเปลตามขั้นตอนที 5 และขั้นตอนที่ 7 จนไปสุดแถว (แถวที่ 15)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความสนใจ ตั้งใจ หาความรู้เพิ่มสมำ่เสมอ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา