เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงกบ

โดย : นายริน ยิ่งหาญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-29-14:34:04

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 33 บ้านภูมิพัฒนา หมู่ที่ 12 ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่ไข่ถือว่าเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจมากในปัจจุบัน  เนื่องจากไก่ไข่เลี้ยงไม่ยากต้องการพื้นที่เลี้ยงน้อย  มีความสะดวกทั้งทางด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร  อุปกรณ์การให้อาหารและน้ำ วัคซีนและยารักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่จากพันธุ์แท้เป็นไก่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้  สามารถผลิตไข่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้

 

วัตถุประสงค์ ->

1.การเลือกสถานที่สร้างคอกกบ

2.บ่อเลี้ยงกบ สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ

3.พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยงกบที่เหมาะสมจะนำมาเพาะเลี้ยงนี้

4.อาหารและการให้อาหาร 

5.การเปลี่ยนน้ำ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.การเอาใจใส่ทุกกระบวนการผลิต

2.คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและลดการว่างงาน

3.ทำด้วยความรักและเอาใจใส่

อุปกรณ์ ->

การเลี้ยงกบ มักพบปัญหาโรค โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากความผิดพลาดทางด้านการเลี้ยงและการจัดการ ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่างๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการเลี้ยงกบในปัจจุบันมักจะใช้บ่อซีเมนต์ และเลี้ยงกันอย่างหนาแน่น มีการให้อาหารมาก ประกอบกับการขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น เท่าที่ได้รวบรวมข้อมูลทางด้านโรคต่างๆ ที่พบจากกบนั้นพอจะแบ่งออกได้ดังนี้

1.      โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด พบทั้งในกบขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ การเกิด แผลที่มีลัษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวหนังตามตัวโดยเฉพาะด้านท้อง จนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา เป็นต้น เมื่อเปิดช่องท้องเพื่อดูอวัยวะภายในจะพบว่ามีของเหลวในช่องท้อง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจุดสีเหลืองซีดๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่บางครั้งพบตุ่มสีขาวขุ่นกระจายอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค คือสภาพบ่อสกปรกมาก ดังนั้นจึงควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะและอย่าปล่อยกบลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป

2.โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปจะพบในกบเล็กมากกว่ากบโต อาการทั่วไปจะพบว่ากบไม่ค่อยกินอาหารผอม ตัวซีด

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเลี้ยงกบต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของน้ำ และบ่อเพาะเลี้ยง
2. ห้ามสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อเพาะเลี้ยงกบโดยเด็ดขาด เพราะเศษขี้บุหรี่มีสารนิโคติน ถ้าตกลงไปในบ่อจะทำให้ลูกกบจะตายยกบ่อได้
3. การเลี้ยงกบ ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกัน ห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาด เพราะกบจะกินกันเองถ้าอาหารไม่เพียงพอ
4. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลาในการจับจำหน่ายที่เหมาะสม คือระยะเวลา 4 เดือน โดยอย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝนเพราะกบจะราคาถูก
5. อาหารกบ นอกจากจะให้อาหารเม็ดแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
6. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่
7. บ่อเพาะเลี้ยงกบควรอยู่ห่างไกลจากถนน และเสียงดังรบกวน ควรมีตาข่ายคลุมบ่อกบ เพื่อป้องกันกบจะกระโดดหนีออกนอกบ่อ และระวังสัตว์เลี้ยง เช่น แมว และสุนัข เป็นต้น

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา