เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรทฤษฎีใหม่

โดย : นางคำพอง สินสร้าง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-28-12:02:57

ที่อยู่ : 13/2... หมู่ที่.... 5.....บ้านปันรัว ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นระบบเกษตรที่เน้นการจัดสรรทรัพยากรน้ำในไร่นา เพื่อสร้างผลผลิตอาหารที่พอเพียงและเพื่อการผลิตที่หลากหลาย สำหรับเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคงแก่ครัวเรือนเกษตรกร ตลอดจนเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน และขาดแคลนทรัพยากรให้บรรเทาลง จนกระทั่งพัฒนาถึงขั้นที่เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้

                เป็นแนวการบริหารงานพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรีขึ้น ซึ่งภาครัฐและเอกชนได้ยึดหลักการในการพัฒนาต่อๆมา

              เหตุผลที่มาของรูปแบบการเกษตรทฤษฎีใหม่เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาทั่วไป โดยเฉพาะเกษตรในประเทศไทยมี 2 ปัญหาที่สำคัญ คือ

             1) ปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำ

ที่เกษตรกรรมไทยกว่า 70%อยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เกษตรต้องอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียวทำให้เสียดุลระบบนิเวศ ซึ่งการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ได้มีการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ 1ไร่ดังนั้นหากต้องการปลูกข้าว 5ไร่และพืชผักผลไม้ 5ไร่ จึงต้องมีน้ำเพื่อใช้ 10,000 ลูกบาศก์เมตร

             2) ความไม่มั่นคงทางด้านอาหารของเกษตรกร

ดังนั้นการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ จึงเน้นให้มีการผลิตข้าวไว้ใช้ในการบริโภคได้ตลอดปีอย่างน้อย 5 ไร่ก็จะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ นอกเหนือจากการปลูกข้าวก็ได้มีการเสนอให้จัดสรรพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อื่นๆ เพื่อเป็นรายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้น ในพื้นที่ที่ถือครองอยู่เฉลี่ย 10-15 ไร่ ควรมีการจัดสรรที่ดินออกเป็นสัดส่วนดังนี้

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ให้มีการขุดสระน้ำความจุประมาณ10,000 ลูกบาศก์เมตรไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ใช้เพาะปลูกพืชผักสวนครัว หรือปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ใช้ในการทำนาหรือปลูกข้าว เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านอาหาร

              • ร้อยละ 10 ของพื้นที่ เป็นบริเวณที่อยู่อาศัย

วัตถุประสงค์ ->

              เหตุผลที่มาของรูปแบบการเกษตรทฤษฎีใหม่เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาทั่วไป โดยเฉพาะเกษตรในประเทศไทยมี 2 ปัญหาที่สำคัญ คือ

             1) ปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำ

ที่เกษตรกรรมไทยกว่า 70%อยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เกษตรต้องอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียวทำให้เสียดุลระบบนิเวศ ซึ่งการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ได้มีการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ 1ไร่ดังนั้นหากต้องการปลูกข้าว 5ไร่และพืชผักผลไม้ 5ไร่ จึงต้องมีน้ำเพื่อใช้ 10,000 ลูกบาศก์เมตร

             2) ความไม่มั่นคงทางด้านอาหารของเกษตรกร

ดังนั้นการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ จึงเน้นให้มีการผลิตข้าวไว้ใช้ในการบริโภคได้ตลอดปีอย่างน้อย 5 ไร่ก็จะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ นอกเหนือจากการปลูกข้าวก็ได้มีการเสนอให้จัดสรรพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อื่นๆ เพื่อเป็นรายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้น ในพื้นที่ที่ถือครองอยู่เฉลี่ย 10-15 ไร่ ควรมีการจัดสรรที่ดินออกเป็นสัดส่วนดังนี้

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ให้มีการขุดสระน้ำความจุประมาณ10,000 ลูกบาศก์เมตรไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ใช้เพาะปลูกพืชผักสวนครัว หรือปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ

              • ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ใช้ในการทำนาหรือปลูกข้าว เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านอาหาร

              • ร้อยละ 10 ของพื้นที่ เป็นบริเวณที่อยู่อาศัย

หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่

       1.หลักการทั่วไปของเกษตรทฤษฏีใหม่

              • เป็นรูปแบบการทำการเกษตร สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นท่ำกินอย่างน้อย10-15 ไร่ในเขตน้ำฝน

              • การมีแหล่งน้ำในไร่นา สามารถใช้ประโยชน์น้ำเพื่อทำการเกษตรทั้งการปลูกพืชและประมง

              • เกษตรกรมีพื้นที่ทำนาซึ่งผลิตอาหารหลัก ให้มีผลผลิตเพียงพอแก่การบริโภค

              • การแบ่งพื้นที่การเกษตรให้หลากหลายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและขายเพื่อเป็นรายได้สู่ครอบครัว

              • การทำกิจกรรมหลายอย่างเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

              • การปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ไม้ผลไว้บริโภค มีฟืนไว้ใช้ เป็นการสร้างความชุ่มชื้นแก่ธรรมชาติ

              • การมีแหล่งกักเก็บน้ำในไร่นา เกษตรกรจะใช้น้ำอย่างประหยัดเห็นคุณค่าและเพิ่มปริมาณน้ำได้มากขึ้น

       2. กิจกรรมเชิงระบบของการเกษตรทฤษฎีใหม่

              • กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ตลอดจนเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ควรมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ไว้รองรับในฤดูแล้ง

              • กิจกรรมด้านอาหาร ได้แก่ การมีผลผลิตเพื่อใช้เป็นอาหารของเกษตรกรและสัตว์เลี้ยง เช่น ข้าว พืชไร่ พืชผักสวนครัว สัตว์น้ำ

              • กิจกรรมด้านรายได้ ได้แก่ กิจกรรมในมิติด้านเศรษฐกิจที่พิจารณารายได้ที่เกิดขึ้นจากระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น รายได้รายวัน รายได้รายสัปดาห์ รายได้รายเดือน รายได้รายปี

              • กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ได้แก่ กิจกรรมในพื้นที่บ้าน มีทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ผลไม้ยืนต้น การเลี้ยงสัตว์และการเพาะเห็ด เป็นต้น

 

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

        ข้อเด่นของการเกษตรทฤษฎีใหม่ สรุปได้ 5 ประการคือ

              1) เป็นแนวทางที่เน้นถึงวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารภายในครัวเรือน

              2) เป็นแนวทางที่เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับไร่นา

              3) เป็นแนวทางที่ไม่ยึดติดกับเทคนิคเฉพาะในการจัดการการผลิตในไร่นา

              4) เป็นแนวทางที่เสนอแนวทางปฏิบัติได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน

              5) เป็นแนวทางที่เน้นกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายชัดเจน

             นอกจากนี้ คือ การระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเป็นครัวเรือนเกษตรกร ที่อยู่นอกเขตชลประทานที่มีพื้นที่ถือครอง 10-15 ไร่ อย่างไรก็ดีกลุ่มเกษตรที่มีที่ดินทำกินน้อยกว่า 10 ไร่รวมถึงเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ยังมิใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของการเกษตรทฤษฎีใหม่ ความท้าทายของการพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาชนบทในอนาคตคือ การพยายามปรับปรุงหรือดัดแปลงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ยากจนที่สุดในสังคมไทย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา