เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทอผ้าไหม

โดย : นางสุพจน์ ธานีพูน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-28-11:55:27

ที่อยู่ : 97... หมู่ที่.... 3....บ้านตาเตียว ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าไหมเป็นอาชีพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุรษ ในหมู่บ้านตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และจะสอนลูกสอนหลานที่ว่างจากฤดูทำนาไปทอผ้าไหม เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ และจำหน่ายให้แก่หมู่บ้านใกล้เคียง   โดยเริ่มเรียนรู้จากประสบการณ์และเรียนรู้จากการสังเกตุ

วัตถุประสงค์ ->

          1. การเลี้ยงไหม

วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 – 52 วัน หนอนไหมจะกินใบหม่อนหลังจากฟักออกจากไข่ประมาณวันที่ 10 จากนั้นจะหยุดกินอาหารและลอกคราบ

เส้นใยของหนอนเกิดจากการขับของเหลวชนิดหนึ่ง มีสารโปร่งแสงเป็นองค์ประกอบใยไหมที่เห็นแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆสองเส้นรวมกัน สามารถฉีกแยกออกจากกันได ้ ทั้งนี้รังไหมแต่ละรังจะให้สายไหมที่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นนอกสุดของรังจะมีความละเอียดพอสมควร ชั้นกลางจะเป็นเส้นหยาบและชั้นในสุดจะเป็นเส้นไหมที่ละเอียดที่สุด ซึ่งหนอนไหมแต่ละตัวจะชักใยยาวไม่เท่ากัน อาจสาวได้ยาวตั้งแต่ 350 – 1,200 เมตร หนอนไหมจะเจาะรังออกมาเป็นผีเสื้อเมื่ออยู่ในรังครบ 10 วัน ซึ่งผู้เลี้ยงจะคัดไหมที่สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ ส่วนที่เหลือนำไปสาวไหม

                  2. เตรียมเส้นไหม
การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การเตรียมเส้นไหมพุ่ง การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อตรียมพร้อมสำหรับการนำไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือในการค้นลำหมี่ โดยการนำเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาทำการค้นปอยหมี่เพื่อให้ได้ลำหมี่พร้อมสำหรับการไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป
2. การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ ไหมหนึ่งเครือจะทำให้เป็นผ้าไหมได้ประมาณ 20-30 ผืน (1 ผืนยาวประมาณ 180-200 เซนติเมตร)

                  3. การมัดหมี่
                 การมัดหมี่ เป็นการทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว้  มีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางมัดลายแล้วนำไปย้อมสี แล้วนำมามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและสีตามต้องการ  

                4. การย้อมสี
                     การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาต แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ

                5. การแก้หมี่
              การแก้หมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลำออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง

                6. การทอผ้า
             การทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือ  “เส้นไหมยืน” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน   “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ทำการมัดหมี่ไว้        

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคเคล็ดลับในการผลิต                                                                                                                              ความเชื่อในเรื่องราวการทอผ้า และการย้อมสี มักจะเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งบางเรื่องมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเชื่อว่าเป็นจริง แต่บางเรื่องก็ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่ผู้ทอผ้าก็ยังมีความเชื่อว่าเป็นความจริงและมีการประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อในการทอผ้าอย่างเคร่งครัด

            ก่อนทอผ้าจะต้องมีพิธีไหว้ครู โดยมีความเชื่อว่าหากไม่มีการทำพิธีดังกล่าวจะทำให้ทอผ้าไม่สำเร็จ เหมือนมีใครมาปิดหูปิดตาไม่ให้สามารถเห็นลายผ้าได้ ถ้าหากทำพิธีครอบครูจะทำให้การทอราบรื่นถ้ามีคนในบ้านป่วยหรือไม่สบายให้หยุดทอทันที มิฉะนั้นจะเกิดเหตุร้ายกับคนในบ้านซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุเพราะว่าถ้ามีคนป่วยในบ้าน คนในบ้านต้องช่วยกันดูแลการย้อมครั่ง มีข้อห้ามดังนี้ ผู้หญิงมีครรภ์ห้ามย้อม, หากมีคนไม่สบายในบ้าน ก็ห้ามย้อม , ผู้หญิงมีประจำเดือนห้ามเดินเข้าใกล้ เพราะจะย้อมสีไม่ติด                                                                                                         การย้อมคราม ห้ามคนท้องหรือคนป่วยเข้าใกล้ เพราะการย้อมครามมีกลิ่นรุนแรงอาจจะเป็นอันตรายแก่คนป่วยหรือคนท้องได้    

 ภายหลังจากสาวเป็นเส้นไหมแล้ว  สิ่งที่สำคัญที่จะต้องอย่างพิถีพิถันก็คือ                                                                      1. การตีเกลียว เส้นไหมที่ไม่ได้ตีเกลียวจะใช้ทอไม่ได้                                                                                          2. การควบเส้น โดยมากมักจะควบอย่างน้อย 2 เส้น เพื่อให้ผ้าไหมหนาพอสมควร                                                       3. การฟอก เพื่อให้เส้นไหมนิ่ม ทำให้ทนทานในการใช้สอย                                                                                 4. การย้อมสี ตามความต้องการของผู้ทอว่าจะต้องการพื้นสีอะไร                                                                          5. การมัดหมี่ ตามความต้องการของผู้ทอว่าต้องการลายแบบไหน                                                                           6. การเข้ากี่ และเข้าฟืม โดยส่วนใหญ่ใช้กี่พื้นเมืองและใช้ฟืมขนาด 3 ตะกอ                                                                7. ทอตามลวดลายมัดหมี่ตามต้องการซึ่งจะต้องอาศัยภูมิปัญญาในการวางแผนในการเลือกสีในการย้อมเส้นไหมยืน  และการมัดหมี่ตามลวดลายผ้าไหมบ้านตาแก้ว คือผ้าทุกผืนจะมีหน้านางหรือชายผ้าที่มีลายมัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์  และตามความต้องการของลูกค้า                                                                                                                      8. การตัดผ้าให้เป็นผืน/ชิ้น ตามขนาดความยาวที่ต้องการเช่น ยาว 2 เมตร , ยาว 4 เมตร หรือตามความต้องการ และตกแต่งรายละเอียดให้สวยงาม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา