เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายดี เจริญยิ่ง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-16:17:45

ที่อยู่ : 87 ม.12 ต.จอมพระ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพหลักของบ้านปะ หมู่ที่ 12 ตำบลจอมพระ  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน ซึ่งเป็นการทำเกษตรกรรมที่ต้องอาศัยการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต รวมทั้งครอบครัวของของปราชญ์เอง  ทำให้สุขภาพร่างกายได้รับสารพิษเป็นเวลานาน  ประกอบกับได้รับโอกาสเข้ารับการอบรมในเรื่องการทำเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี จึงเห็นความสำคัญและครอบครัวจึงได้เริ่มทำการเกษตรอินทรีย์ และงดเว้นการใช้สารเคมี โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิ รวมทั้งได้รวมกลุ่มกับคนในชุมชนและตำบลเพื่อทำการเกษตรอินทรีย์ ทำให้ชีวิตสุขภาพดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ มีขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกันตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต  ดังนี้

                   1) การเลือกพื้นที่ปลูก   ควรเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน มีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง

                   2) การเลือกใช้พันธุ์ข้าว  พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

3)  การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว  เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีความงอกสูง ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลง และเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก

                   4) การเตรียมดิน  เพื่อสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกและวิธีการปลูก โดยไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

                   5) วิธีการปลูก  การปลูกข้าวแบบปักดำเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้ และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรค และแมลงทำลาย การผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อย คือ ระยะระหว่างต้นและแถว ประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 3-5 ต้นต่อกอ  และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้ หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม เช่น หว่านข้าวแห้ง  หรือหว่าน นาตม

                   6) การเก็บเกี่ยว การนวด และการลดความชื้น  ควรเก็บเกี่ยวหลังจากออกดอกประมาณ        28-30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวสุกแก่เมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่าระยะพลับพลึง โดย

                             - การเก็บเกี่ยวโดยใช้เคียว ต้องตากฟ่อนข้าวในนาประมาณ 2-3 แดด แล้วจึงรวมกองก่อน ค่อยทำการนวด

                             - การเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวนวด  เมล็ดข้าวที่ยังมีความชื้นสูง ต้องตากบนลาน       ในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน พลิกกลับเมล็ดข้าววันละ 3-4 ครั้ง ให้ความชื้นเหลือ 14% หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษา และทำให้มีคุณภาพการสีดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้องรู้จักการจัดการดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการ

ปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุดโดยไม่เผาตอซังข้าว ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา  เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาให้เกิดประโยชน์ต่อการปลูกข้าว ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าว และหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชบำรุงดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น  ถ้าดินมีความเป็นกรดให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก และอาจมีไม่เพียงพอสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์ และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต  จึงแนะนำนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใส่ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ”  ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยน้ำหมัก หรือน้ำสกัดชีวภาพ ควรทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ แบ่งได้ 3 ประเภท ตามวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ น้ำสกัดจากสัตว์ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา เศษปลาหรือเศษเนื้อ น้ำสกัดจากพืช ได้แก่ ผักต่างๆ ใบสะเดา ตะไคร้หอม พืชสมุนไพรต่างๆ น้ำสกัดจากผลไม้ เศษผลไม้จากครัวเรือน มะม่วง สับปะรด กล้วย มะละกอ ฟักทอง

มีความรู้เพิ่มขึ้นในการดำรงชีวิต และ

ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

อุปกรณ์ ->

หมั่นสังเกตดูแลเป็นประจำ และจดบันทึกไว้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา