เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรอินทร์ทรีย์-ปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายย้อย เพ่งพิศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-16:15:43

ที่อยู่ : 90 ม.7 ต.จอมพระ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพหลักของบ้านขาม  หมู่ที่ 7 ตำบลจอมพระ  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ  ทำนา โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวที่ชาวบ้านขามทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นข้าวที่เมื่อหุงสุกแล้วจะมีรสชาดหอมนุ่มอร่อย แต่ในการทำนานั้นส่วนใหญ่เกษตรกรจะใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต รวมทั้งครอบครัวของของปราชญ์เอง  ทำให้สุขภาพร่างกายได้รับสารพิษเป็นเวลานาน  จึงมีความคิดอยากจะทำนาเกษตรอินทรีย์-ปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นการทำนาที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิต และในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต  โดยมุ่งเน้นการใช้สารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ดิน และนำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของสารตกค้าง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

การทำเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นา ควบคุมโรคแมลงและศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม มีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลง และศัตรูข้าว  เป็นต้น  การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูง  ซึ่งการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์มีวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต ดังนี้

1)     การเลือกพื้นที่ปลูก

2)     การเลือกใช้พันธุ์ข้าว

3)     การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

4)     การเตรียมดิน

5)     วิธีการปลูก

6)     การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

7)     ระบบการปลูกพืช

8)     การควบคุมวัชพืช

9)     การป้องกันและกำจัดโรค แมลง และศัตรูพืช

10)  การจัดการน้ำ

11)  การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื่น

12)  การเก็บรักษาข้าวเปลือก

13)  การสี

14)  การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) การหมั่นเข้ารับการฝึกอบรม และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

2) ครอบครัวมีส่วนร่วมในการทำเกษตรอินทรีย์

3) ความอดทนในการทำงาน

- เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน  คือ การทำงานต้องรอบคอบ  ช่างสังเกต มีเวลา

เอาใจใส่ในการทำงาน และต้องขยัน อดทน

- ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน  คือ  ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

- ข้อพึงระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างที่เจ้าของความรู้ปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหายหรือ

ต้องแก้ไข  คือ  ต้องระวังไม่ให้มีเมล็ดข้าวอื่นเจือปน

- วิธีแก้ปัญหาเมื่อเกิดความผิดพลาด  คือ การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ จัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่

ในการปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อป้องกันข้าวอื่นเจือปน จะทำให้เวลาจำหน่ายข้าวเปลือกไม่ได้ราคาตามที่เราต้องการ เนื่องจากมีสิ่งเจือปน พ่อค้า/โรงสีเอาเปรียบโดยกดราคา/รับซื้อข้าวเลือกจากชาวนาในราคาถูก (ถูกกดราคา)

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา