เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

โดย : นายสุเพียบ กระแสโสม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-15:45:50

ที่อยู่ : 118 ม.9 ต.กระหาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในชุมชน มีกะลามะพร้าวอยู่แบบทิ้งๆข้างๆมากมาย ซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์จึงเกิดอยากหาอะไรทำจากกะลามะพร้าว โดยลองผิดลองถูกมา จนได้ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นับว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตลอดจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้เพื่อนำกะลามะพร้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสภาพสตรี 

วัตถุประสงค์ ->

นำกะลามะพร้าวแก่จัดที่แห้งแล้วมาขูดเอาเนื้อด้านในออกให้หมด แล้วขัดผิวภายนอกกะลาด้วยเครื่องขัดหินเจียร ส่วนด้านในขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100, 320, 1000 ตามลำดับ
ร่างแบบลายลงบนผิวกะลาด้วยดินสอ หรือนำแบบลายที่เตรียมไว้ทากาวลาเท็กซ์ด้านหลัง แล้วปิดแบบลายลงบนผิวกะลาให้เรียบ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง (กะลาที่ใช้จะเป็นทั้งลูก เป็นซีก หรือเป็นเศษ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์)
ใช้สว่านเจาะรูตามแบบลาย โดย ใช้ดอกสว่านขนาด 2 มิลลิเมตร  เจาะให้รอบแบบลาย เพื่อเป็นรูสำหรับสอดใบเลื่อยฉลุ
ใช้เลื่อยฉลุตามแบบลาย โดยเริ่มจากด้านในก่อน แล้วฉลุขอบด้านนอกเพื่อความสะดวกในการจับชิ้นงาน (ใช้เทียนไขลูบใบเลื่อยฉลุเพื่อให้ลื่น สะดวกในการฉลุ) เสร็จแล้วลอกกระดาษแบบลายที่ติดไว้ออก
ตกแต่งผิวและขอบนอกของกะลาด้วยตะไบหยาบและตะไบละเอียด จากนั้นขัดด้วยกระดาษทรายขัดไม้เบอร์ 4 และเบอร์ 0 จนผิวกะลาเรียบที่สุด
กรณีที่ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือติดผลิตภัณฑ์บนแท่นไม้ ให้ใช้กาวตราช้างหรือกาวลาเท็กซ์ติด หากต้องการเพิ่มความแข็งแรงยิ่งขึ้น ใช้ตะปูหรือหมุดตอกเป็นสลักยึดติด
หากต้องการเคลือบเงาให้ใช้พู่กันทาแลคเกอร์จนทั่วผลิตภัณฑ์ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ทาซ้ำใหม่ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง จะได้ผลิตภัณฑ์ที่เงางาม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา