เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าไหม

โดย : นางเสาวลักษณ์ สุขหอม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-13-13:26:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๘๔ หมู่ ๘ . ซอย - ถนน - ตำบล คำผง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

1. ความเป็นมา  

            การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมที่สำคัญของหมู่บ้านนาแก่น จากคำบอกเล่าต่อกันมาจากสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย          การทอผ้าเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งขอผู้หญิงถ้าครัวเรือนไหนมีลูกสาวต้องสอนให้ทอผ้าเป็น จะเป็นที่หมายปองของหนุ่มๆในหมู่บ้านแต่ถ้าผู้หญิงคนไหนทอผ้าไม่เป็น ก็เป็นข้อหนึ่งที่ที่ญาติฝ่ายชายไม่เลือกเอามาเป็นสะใภ้ดังนั้นลูกสาวทุกครัวเรือนจะทอผ้าเป็นทั้งนั้น   ดิฉันเองได้เรียนรู้ การมัดหมี่การทอจากยายและแม่สืบสานต่อกันมา ซึ่งนิยมทอผ้าในช่วงเสร็จจากอาชีพหลักคืออาชีพทำนาข้าว เวลาว่างก็ทอผ้า ทั้งทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ทอผ้าโทเร ส่วนเป็นการเพื่อใช้เองทอผ้าไหมก็เริ่มจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมเป็นเส้นแล้วมาผ่านกระบวนการทอจนทำให้เป็นผืนผ้าและเก็บไว้ใช้เอง จนปัจจุบันผ้าไหมได้รับความนินมจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นอย่างมาก มีผู้มาติดต่อขอซื้อผ้าไหมถึงที่บ้าน ทำให้เริ่มมีการผลิตเพื่อจำหน่าย และได้มีการคิดค้นหลายใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น และได้ยึดอาชีพทอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริมมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนในการทอผ้า

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ

3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา

4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ

การทอผ้าพื้น

เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น

 

เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า

การขิด

ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ

การจก

เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”

-การทอมัดหมี่

ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่

1. มัดหมี่เส้นพุ่ง

2. มัดหมี่เส้นยืน

3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน

- การทอผ้ายก

เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

             ๓.๑.การมัดหมี่ มัดลายต้องสม่ำเสมอ เชือกฟางที่ใช้มัดหมี่ต้องมีขนาดของเส้นสม่ำเสมอกัน

             ๓.๒.เลือกเส้นไหมมีมีขนาดเส้นเท่าๆกัน

             ๓.๓.ย้อมสีให้เข้าข้อ ย้อมให้สีมีความสม่ำเสมอ

             ๓.๔. มีการปั่นควบเส้นไหม

             ๓.๕.ผู้ที่ทอต้องมีความอดทน ใจเย็น ต้องมีความแม่นยำ ประณีต มีความชำนาญเฉพาะตัว เนื่องจากเป็นลายที่ละเอียด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา